Page 70 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 70

50





                                7.1.7 ทรัพยากรดิน
                                จากการศึกษาข้อมูลดินของส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1:  50,000

                  สามารถสรุปทรัพยากรดินในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าป่าสักส่วนที่ 3 ได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 ตารางที่ 4 และภาพ
                  ที่ 10)

                                1)   กลุ่มชุดดินที่ 1

                                    กลุ่มชุดดินที่  1  เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ าในบริเวณเทือกเขาหินปูนหรือหิน
                  ภูเขาไฟ พบในพื้นที่ราบลุ่ม สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ การ
                  ระบายน้ าของดินเลวหรือค่อนข้างเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลาง
                                    ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียว  สีด า  สีเทาเข้มมาก  สีเข้มมาก

                  ของสีน้ าตาลปนเทา มีจุดประสีน้ าตาล สีเหลืองหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง
                  (pH  6.5-7.0)  ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว  สีเทา  สีเทาเข้มมากหรือสีเทาปนน้ าตาล  มีจุดประสีเหลือง
                  สีน้ าตาลและสีแดง  พบรอยไถลเป็นชั้นหนาจากการยืดและหดตัวของดินภายในความลึก  100  เซนติเมตรจาก

                  ผิวดิน  ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง  (pH  7.0-8.0)  อาจพบก้อนปูนหรือเศษหินภูเขาไฟภายใน
                  ความลึก 150 เซนติเมตร จากผิวดิน
                                    ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากดินในกลุ่มนี้เป็นดินเหนียวจัด ท าให้การไถ
                  พรวนเตรียมดินยาก เมื่อดินแห้งจะแข็งและเมื่อดินชื้นจะเหนียวติดเครื่องจักรกลการเกษตร ดังนั้นจึงควร
                  เลือกช่วงเวลาเตรียมดินเมื่อดินมีความชื้นที่เหมาะสม

                                    กลุ่มชุดดินที่ 1 พบ 1 หน่วยแผนที่ คือ
                                               หน่วยแผนที่ 1 : กลุ่มชุดดินที่ 1 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่

                  211,440 ไร่ หรือร้อยละ 8.0318 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา

                                  2)   กลุ่มชุดดินที่ 4
                                    กลุ่มชุดดินที่ 4  เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ า พบในพื้นที่ราบลุ่มหรือตะพักล าน้ า

                  ระดับต่ า สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ มีการพัฒนาการของดิน
                  น้อย การระบายน้ าของดินค่อนข้างเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติปานกลาง

                                    ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีด า สีเทาเข้ม หรือสีเข้มมากของสีน้ าตาลปนเทา มีจุดประ
                  สีน้ าตาลหรือสีเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH  6.0-6.5)  ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดิน

                  เหนียว สีเข้มของสีน้ าตาลปนเทา สีเทาเข้มหรือสีเทา มีจุดประสีเหลืองและสีน้ าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็น
                  ด่างปานกลาง (pH  7.0-8.0) เมื่อหน้าดินแห้ง ดินจะแข็ง พบรอยแตกระแหงและรอยไถลจากการยืดและหดตัว

                  ของดิน บางพื้นที่อาจพบก้อนปูนในหน้าตัดดิน

                                    ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เมื่อหน้าดินแห้ง ดินจะแข็ง แตกระแหงกว้างและลึก ท าให้
                  รากพืชฉีกขาด แต่เมื่อดินเปียกแฉะจะเหนียวติดเครื่องมือ ท าให้ไถพรวนยาก และขาดแคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้ง

                  ช่วงนาน

                                    กลุ่มชุดดินที่ 4 พบ 1 หน่วยแผนที่ คือ
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75