Page 71 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 71

51





                                    หน่วยแผนที่ 4 : กลุ่มชุดดินที่ 4 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 210,080 ไร่
                  หรือร้อยละ 7.9801 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา

                                3)   กลุ่มชุดดินที่ 5
                                    กลุ่มชุดดินที่ 5 เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ า พบในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่ตะพัก

                  ล าน้ าระดับต่ า สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 2  เปอร์เซ็นต์ มีการ

                  พัฒนาการของดินมานาน การระบายน้ าของดินเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน  ความอุดมสมบูรณ์ของดินตาม
                  ธรรมชาติปานกลาง

                                    ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาหรือสี

                  เทาปนน้ าตาล มีจุดประสีเหลือง สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
                  (pH 5.5-6.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาหรือสีน้ าตาลปนเทา มีจุดประสี

                  เหลือง  สีน้ าตาล และอาจพบจุดประสีแดงของศิลาแลงอ่อนปริมาณมากกว่าร้อยละ 5  โดยปริมาตร ภายใน
                  ความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) บางพื้นที่อาจ

                  พบก้อนปูนหรือลูกรังของเหล็กและแมงกานีสในชั้นดินล่าง
                                    ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เมื่อหน้าดินแห้ง ดินจะแข็งและแตกระแหง ท าให้รากพืชฉีก

                  ขาด เมื่อดินเปียกแฉะจะเหนียวติดเครื่องมือ ไถพรวนยากและมีน้ าท่วมขังนานในฤดูฝน

                                    กลุ่มชุดดินที่ 5 พบ 1 หน่วยแผนที่ คือ
                                    หน่วยแผนที่ 5 : กลุ่มชุดดินที่ 5 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 5,873 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 0.2231 ของพื้นที่ลุ่มน้ าสาขา

                                4)   กลุ่มชุดดินที่ 6
                                    กลุ่มชุดดินที่ 6 เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ าในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่ตะพักล า

                  น้ าระดับต่ า สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 2  เปอร์เซ็นต์ มีการ
                  พัฒนาการของดินมานาน การระบายน้ าของดินเลวหรือค่อนข้างเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน ความอุดมสมบูรณ์

                  ของดินตามธรรมชาติต่ า
                                    ดินบนมีเนื้อดินเป็นร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ าตาล

                  สีน้ าตาลปนเทาหรือสีเทา มีจุดประสีน้ าตาลหรือสีเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง

                  (pH 5.0-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาหรือสีเทาปนน้ าตาล  มีจุดประสี
                  เหลือง สีน้ าตาลหรือสีแดงของศิลาแลงอ่อนปริมาณมากกว่าร้อยละ 5  โดยปริมาตร ภายในความลึก 150

                  เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) บางพื้นที่อาจพบลูกรังของเหล็ก

                  และแมงกานีสในชั้นดินล่างช่วงความลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน
                                    ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า บางพื้นที่อาจ

                  ขาดแคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน
                                    กลุ่มชุดดินที่ 6 พบ 1 หน่วยแผนที่ คือ
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76