Page 7 - การวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติและการกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินตามศักยภาพพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองจันดี (รหัส2202)
P. 7

1





                       การวิเคราะหทรัพยากรธรรมชาติ และการกําหนดบริเวณการใชที่ดินตามศักยภาพ


                                          พื้นที่ลุมน้ําสาขาคลองจันดี (รหัส 2202)



                  1. คํานํา

                   ปจจุบันการเพิ่มจํานวนประชากร และการขยายตัวของชุมชนมีแนวโนมสูงขึ้นอยางตอเนื่อง

                  ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยูอยางจํากัดถูกนําไปใช เปนจํานวนมากสงผลใหมีการใชประโยชนที่ดิน
                  เพื่อกิจกรรมตางๆ เพิ่มขึ้น และนําไปสูการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทําเกษตรกรรมที่มุงเนนการผลิต

                  เพื่อการคาเปนหลัก จากการใชประโยชนที่ดินอยางเขมขนและตอเนื่อง โดยขาดการปรับปรุงบํารุงดิน

                  ที่เหมาะสมและถูกวิธี รวมทั้งมีการบุกรุกทําลายพื้นที่ปาไมซึ่งเปนแหลงตนน้ําลําธาร สงผลให

                  ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยูอยางจํากัดถูกทําลาย และเสื่อมโทรมลง ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
                  ระบบนิเวศโดยรวมเสียสมดุล  ซึ่งทุกปญหาลวนแลวแตสงผลกระทบตอสภาพแวดลอม และ

                  กระบวนการ ตางๆ ในธรรมชาติ โดย มีแนวโนมที่จะทวีความรุนแรงขึ้น บั่นทอนคุณภาพชีวิตมนุษย

                  จากการเกิดภัยธรรมชาติบอยครั้งทั้งภาวะน้ําทวม หรือภัยแลง ซึ่งเปนขอจํากัดของการผลิต  และการ
                  ดํารงชีวิตของประชากร และจะนําไปสูความไมยั่งยืนของการพัฒนาในอนาคต  การพัฒนาตางๆ ที่มี

                  การใชทรัพยากรจํานวนมาก โดยขาดมาตรการอนุรักษหรือฟนฟูที่มีประสิทธิภาพ จําเปนตองมีการแกไข

                  โดยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุมน้ําใหเกิดประโยชนในลักษณะผสมผสาน ทั้งในดาน
                  การอนุรักษ การฟนฟูและการพัฒนาอยางยั่งยืน

                   การวิเคราะหขอมูลทรัพยากรธรรมชาติ   เปนการกําหนด บริเวณ การใชที่ดิน ตามเขตศักยภาพ

                  ดานเกษตรกรรม ปาไม  และทรัพยากร น้ํา โดยสามารถใชเปนฐานขอมูลรวมในการวางแผนการใช

                  ที่ดิน เปนแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอยางเปนระบบ

                  โดยคํานึงถึงความสัมพันธเชิงระบบหรือองครวม   เพื่อการดํารงอยูของระบบนิเวศอยางสมดุล
                  ลดปญหาความเสื่อมโทรม และผลกระทบจากการใชทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ลดปญหา

                  ความรุนแรงของภัยธรรมชาติ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใหตรงศักยภาพของที่ดินและเปนไป

                  ตามนโยบายพื้นฐานของภาครัฐ  โดยสอดคลองกับยุทธศาสตรดานที่ดินดานทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดลอม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ตลอดจนนโยบายการใชที่ดินตามกฎหมาย

                  อันจะนําไปสูการบริหารจัดการพื้นที่ลุมน้ําสาขาไดอยางมีประสิทธิภาพตอไป













                                                                   สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12