Page 194 - การวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติและการกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินตามศักยภาพพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองจันดี (รหัส2202)
P. 194

138






                  ปาเสื่อมรอสภาพฟนฟู และพื้นที่ที่มีการใชประโยชนเพื่อการเกษตร ซึ่งเปนพื้นที่รอการพิสูจนสิทธิตาม

                  มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541

                        8.9.2   เขตพื้นที่มีศักยภาพสําหรับเกษตรกรรม

                         มีเนื้อที่ 306,810 ไร หรือรอยละ 76.71 ของ  พื้นที่ลุมน้ําสาขา พื้นที่ในเขตนี้อยูนอกเขต

                  ที่มีการประกาศเปนเขตปาไมตามกฎหมาย ซึ่งรัฐไดกําหนดเปนพื้นที่ทํากินมีการออกเอกสารสิทธิ์

                  รวมถึงพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พื้นที่เขตนี้มี ความสําคัญทางเศรษฐกิจ เกี่ยวของกับ
                  ชีวิตความเปนอยูของประชาชนสวนใหญในพื้นที่ลุมน้ํา จากการพิจารณาสามารถแบงพื้นที่ตาม

                  ความเหมาะสมของที่ดินและศักยภาพของพื้นที่ไดเปน 4 เขตยอย ดังนี้


                               1)  เขตพื้นที่มีศักยภาพสูง  มีเนื้อที่ 266,869  ไร หรือรอยละ 66.73 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา
                  เขตนี้เปนพื้นที่ทําการเกษตรโดยอาศัยน้ําฝนเปนหลัก ดินมีศักยภาพในการผลิตปานกลางถึงสูงแตอาจ

                  มีขอจํากัดของการใชประโยชนที่ดินบางประการที่สามารถแกไขไดงาย บางพื้นที่มีแหลงน้ําเพียงพอ

                  อาจมีการใชพื้นที่เพื่อการปลูกพืชผัก หรือไมผลได พื้นที่ทําการเกษตรในเขตนี้จะมีเนื้อที่มากที่สุด
                  ของลุมน้ํา และเปนพื้นที่สําคัญในการผลิตพืชเศรษฐกิจ พื้นที่เขตนี้สามารถแบงเปน 3 เขตยอย ตามศักยภาพ

                  และความเหมาะสมของการใชประโยชนที่ดินดังนี้

                                 (1)  เขตพื้นที่มีศักยภาพสูงสําหรับทํานา  (หนวยแผนที่ 211) มีเนื้อที่ 10,414 ไร
                  หรือรอยละ 2.60 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา สภาพพื้นที่เปนที่ราบลุมขนานไปกับทางน้ําที่ดินมีความเหมาะสม

                  ปานกลางในการทํานาโดยอาศัยน้ําฝน

                                    รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ ในการใชพื้นที่เพื่อการทํานาควรมี
                  การเพิ่มศักยภาพการผลิตดวยการพัฒนาแหลงน้ํา เชน บอน้ําในไรนา เพื่อเก็บกักน้ําสําหรับปลูกพืช

                  ลดความเสียหายกรณีฝนทิ้งชวง และเพิ่มศักยภาพการผลิตดวยการใชพันธุดีจากแหลงผลิตที่เชื่อถือได

                  ประกอบกับการใชปุยอินทรียหรือปุยชีวภาพควบคูกับการใชปุยเคมีในอัตราที่เหมาะสม  หรืออาจทํา

                  เกษตรแบบเกษตรผสมผสานตามแนวทางทฤษฎีใหม โดยการขุดบอน้ําเลี้ยงปลา ยกรองปลูกผัก ไมผล
                  ไมยืนตนและนาขาวรวมกัน

                                 (2)  เขตพื้นที่มีศักยภาพสูงสําหรับ ไมผล (หนวยแผนที่ 212) มีเนื้อที่ 15,177 ไร หรือ

                  รอยละ 3.79 ของพื้นที่ลุมน้ําสาขา สภาพพื้นที่เปนลูกคลื่นลอนลาดถึงคอนขางราบ ดินลึกปานกลางถึง
                  ลึก มีความเหมาะสมของที่ดินในการปลูกไมผล หรือพืชผักตางๆ   พื้นที่สวนใหญอยูใกลน้ําหรือ

                  สามารถหาแหลงน้ําได ปจจุบันมีการปลูกไมผลผสม











                                                                   สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199