Page 45 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 45

33




                                                  ผลการทดลองและวิจารณ์



                  1. คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                                      สมบัติทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ใช้ในการทดลองแสดงอยู่ในตารางที่ 2  พบว่า
                  ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ใช้ในการทดลอง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)   ในระดับเป็นกลาง  วัดได้

                  เท่ากับ 6.7 มีค่าการน าไฟฟ้าที่วัดได้ 4.65 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร  สัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N ratio)

                  เท่ากับ 9.1  ปริมาณอินทรียวัตถุ เท่ากับ 22.80  เปอร์เซ็นต์ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด เท่ากับ 1.54

                  เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด เท่ากับ 1.39 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 0.54
                  เปอร์เซ็นต์ และการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์มากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 95.26  และเมื่อพิจารณา

                  ตามเกณฑ์ก าหนดของกรมพัฒนาที่ดิน การรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 2556   พบว่า

                  ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ใช้ในการทดลองผ่านเกณฑ์ข้อก าหนดของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                  ดังตารางที่ 2


                  ตารางที่ 2 สมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                             สมบัติทางเคมีและธาตุอาหาร           ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง     ข้อก าหนด
                     ความเป็นกรดเป็นด่าง                                                        -

                     ค่าการน าไฟฟ้า (dS/m)                              4.65                  ≤ 10

                     สัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N  ratio)              9.1                  ≤ 20

                     ปริมาณอินทรียวัตถุ (%)                             22.80                 ≥ 20
                     ไนโตรเจนทั้งหมด (%)                                1.54                  ≥ 1.0

                     ฟอสฟอรัสทั้งหมด (%)                                1.39                  ≥ 0.5

                     โพแทสเซียมทั้งหมด (%)                              0.54                  ≥ 0.5

                     การย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์                            95.26                 ≥ 80
                     ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2556)



                  2. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง
                                      ท าการเก็บตัวอย่างดินแบบ Composite sample ที่มีความลึก 0 – 20  เซนติเมตร แล้ววิเคราะห์

                  สมบัติทางเคมีบางประการของดิน พบว่า  ดินที่ท าการวิจัยเป็นชุดดินนครปฐม ซึ่งสมบัติของดินก่อนการ

                  เตรียมดิน คือ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อยู่ในช่วง 6.9  –  7.1  ซึ่งจัดอยู่ในระดับกลาง ปริมาณ

                  อินทรียวัตถุในดินมีปริมาณ 1.19  –  1.36  เปอร์เซ็นต์  จัดอยู่ในระดับค่อนข้างต่ า  ฟอสฟอรัสที่เป็น
                  ประโยชน์ในดินมีปริมาณ 30 – 36  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50