Page 44 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 44
32
วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547) โดยท า
การวัดสมบัติดินดังกล่าวทั้งหมด 2 ครั้ง ในช่วงก่อนและหลังการทดลอง
3.3 ข้อมูลพืช
3.3.1 เก็บตัวอย่างถั่วพร้าทั้งต้น ใบ และรากในวิธีการที่ 3 และ 5 เมื่อถั่วพร้าอายุ 50 วัน
โดยใช้กรอบสุ่มขนาด 1 x 1 เมตร สุ่มนับจ านวนต้นต่อตารางเมตร วัดการเจริญเติบโต น าตัวอย่างพืชเข้า
ตู้อบอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 72 ชั่วโมง แล้วชั่งน้ าหนักแห้ง
3.3.2 เก็บบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตด้านความสูงของข้าวโพดฝักอ่อนที่อายุ 15, 30,
45 และ 60 วัน (วันที่เก็บเกี่ยว) โดยสุ่มวัดความสูงจ านวน 10 ต้นต่อแปลง
3.3.3 ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน
1) น้ าหนักฝักอ่อนทั้งเปลือกทั้งหมดที่เก็บเกี่ยวได้
2) น้ าหนักทั้งหมดของฝักปอกเปลือก
3) ขนาดมาตรฐานของฝักอ่อน ได้แก่ ความยาวของข้าวโพดฝักอ่อนที่ปอกเปลือก
3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (S) ความยาวฝัก 4-7 เซนติเมตร ขนาดกลาง (M) ความยาวฝัก 7-10 เซนติเมตร
และขนาดใหญ่ (L) ความยาวฝัก 10-13 เซนติเมตร
4) น้ าหนักฝักเสียได้จากจ านวนฝักทั้งหมดที่เก็บเกี่ยวลบด้วยจ านวนฝักดีข้อ 3 แล้ว
น ามาชั่งน้ าหนัก
3.4 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
เก็บบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายและรายได้แล้วค านวณเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
4. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลทางสถิติตามแผนการทดลองแบบ Randomized Complete
Block Design (RCBD) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยวิธี Duncan's Multiple Range Test
(DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ในการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการทดลองแบบต่างๆ
5. เขียนรายงานผลการทดลองและสรุปผล