Page 119 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 119

102


                             2) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน  มีค่าพิสัยเป็น  0.48  –  3.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมิน

                      ระดับต่ า – ปานกลาง
                                     แปลงที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูงสุด  คือ แปลงป่าธรรมชาติ (ปทม.5) ซึ่งมี

                      ปริมาณอินทรียวัตถุ 3.2 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับปานกลาง  และเปลี่ยนแปลงปริมาณ

                      อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นจากเดิม 1.99 เปอร์เซ็นต์
                                     แปลงที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินน้อยที่สุด  คือ แปลงป่าปลูกปี  2537 (ปทม.7) มี

                      ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน  1.28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับต่ า และมีการเปลี่ยนแปลง

                      ปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลง  1.4  เปอร์เซ็นต์  ตามล าดับ
                             3) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าพิสัย  1- 7.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์

                      ประเมินระดับต่ า  แปลงที่เปลี่ยนแปลงปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากที่สุด  คือ แปลงป่า

                      ธรรมชาติบริเวณเขาบ่อขิง (ปทม.8)  มีค่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน  7.4  มิลลิกรัมต่อ

                      กิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับต่ า  เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น  5.4  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ไปจากเดิม
                                     แปลงที่เปลี่ยนแปลงปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินน้อยที่สุด  คือ แปลง

                      ปลูกป่าปี 2537 (ปทม.7)  มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน  2.2  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ใน

                      เกณฑ์ประเมินระดับต่ า และเปลี่ยนแปลงปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินลดลง  1.8 มิลลิกรัม
                      ต่อกิโลกรัม  เนื่องจากมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายตลอดมีสีดินเป็นสีน้ าตาลอ่อน  ดินค่อนข้างเป็น

                      กรดจัด  และค่าความเป็นกรด – เป็นด่างของดินลดลง  และปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดต่ าลง  มีผลให้

                      การปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินลดต่ าไปด้วย  เพราะอินทรียวัตถุมีความสามารถในการ

                      แลกเปลี่ยนประจุบวกสูง สามารถดูดซับน้ าได้ดี และมีบทบาทส าคัญต่อการเกาะยึดกันเป็นเม็ดของ
                      อนุภาคดินอินทรียวัตถุในดินมีอิทธิพลต่อสมบัติของดินทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ เช่น มี

                      ผลต่อการเกิดสีของดิน ช่วยให้ดินทรายมีการจับตัวเป็นก้อน การอุ้มน้ า การถ่ายเทอากาศ การดูดซับ

                      ประจุบวก อินทรียวัตถุที่มีประจุลบจ านวนมากและมีความสามารถในการดูดซับประจุบวกได้สูง จึงมี
                      ผลท าให้ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดเป็นด่างได้ดี

                             4) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าพิสัย  21 – 138 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ใน

                      เกณฑ์ประเมินระดับต่ า – สูง  แปลงที่เปลี่ยนแปลงของปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมาก
                      ที่สุด  คือ แปลงป่าธรรมชาติด้านทิศตะวันออกเขาทอง (ปทม.6)  มีค่าปริมาณโพแทสเซียมที่เป็น

                      ประโยชน์ในดิน  138 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับสูง  เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น  101

                      มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เนื่องจากหน้าดินบนหนาพอประมาณ มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในเกณฑ์
                      ประเมินระดับปานกลาง ค่าความเป็นกรดและเป็นด่างของดินอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับกรดน้อย –

                      ปานกลาง  ความหนาแน่นรวมของดินอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

                             5) ปริมาณโพแทสเซียมในดินที่เป็นประโยชน์ในดินที่เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด  คือ แปลงปลูกป่า

                      ปี 2542 (ปทม.1)  มีค่าปริมาณโพแทสเซียมในดิน  62  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับ
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124