Page 118 - การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินบริเวณพื้นที่ปลูกป่าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 118

101


                      4.2 การเปรียบเทียบผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทางกายภาพและทางเคมีของดินจาก

                      แปลงปลูกป่ าและป่ าธรรมชาติทั้ง  8  แปลง  ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก
                      พระราชด าริ

                             4.2.1 การศึกษาการเปรียบเทียบแปลงความหนาของชั้นดินบนตั้งแต่ พ.ศ. 2549 – 2555

                             ความหนาของชั้นดินบนมีค่าพิสัยเป็น 11 – 20.8 เซนติเมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับหนา

                      ปานกลางถึงหนา  โดยแปลงที่มีความหนามากที่สุด  คือ  แปลงป่าธรรมชาติ (ปทม.3) มีความหนา  21.3
                      เซนติเมตร ซึ่งอยู่มนเกณฑ์ประเมินอยู่ระดับหนา และเปลี่ยนแปลงหนาเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 เซนติเมตร

                      ผลมาจากปริมาณความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ในแปลงป่าธรรมชาติมีปริมาณ 248 ต้นต่อไร่  การล่วง

                      หล่นของใบไม้ กิ่งไม้มากตามไปด้วย และแปลงป่าปลูก (ปทม.2,4) และแปลงป่าธรรมชาติ (ปทม.5)  มี
                      การเปลี่ยนแปลงความหนาน้อยที่สุด  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับหนาปานกลาง  มีความหนา  14

                      เซนติเมตร  14.5  เซนติเมตร  และแปลงป่าธรรมชาติ  (ปทม.6)  อยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับหนา  มี

                      ความหนาของชั้นดินบน  21.3 เซนติเมตร  และเปลี่ยนแปลงหนาเพิ่มขึ้นจากเดิม 0.5 เซนติเมตร  ผลมา

                      จากปริมาณความหนาแน่นของพันธุ์ไม้  แปลง ปทม.2  มี  116 ต้น ลดลงเหลือ 79 ต้น  แปลง ปทม.4
                      139  ต้น  ซึ่งเป็นป่าปลูกใหม่การเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ยังน้อย  ส่วนแปลงป่าธรรมชาติ (ปทม.6)  เป็น

                      พื้นที่ลาดชัน 30 เปอร์เซ็นต์ มีการชะล้างพังทลายสูงตามล าดับ

                             4.2.2 การศึกษาการเปรียบเทียบแปลงความหนาแน่นรวมของชั้นดินตั้งแต่ พ.ศ. 2550 – 2554
                             ความหนาแน่นรวมของดิน  มีค่าพิสัยเป็น  1.02  –  1.58  เซนติเมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมิน

                      ระดับร่วนซุยปานกลาง –  ร่วนซุยมาก  แปลงที่ร่วนซุยมากที่สุด  คือ แปลงป่าธรรมขาติ (ปทม.3)  มี

                      ความหนาแน่นรวมของดิน 1.11 มิลลิกรัมลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับร่วนซุยมาก และ
                      เปลี่ยนแปลงความหนาแน่นรวมของดินลดลงจากเดิม 0.3 มิลลิกรัมลูกบาศก์เมตร และแปลงที่

                      เปลี่ยนแปลงความหนาแน่นรวมของดินน้อยที่สุก  คือ แปลงป่าธรรมชาติ (ปทม.8)  มีความหนาแน่น

                      รวมของดิน  1.18 มิลลิกรัมลูกบาศก์เมตร  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับร่วนซุยมาก และเปลี่ยนแปลง
                      ความหนาแน่นรวมของดินลดลงจากเดิม  0.06 มิลลิกรัมลูกบาศก์เมตร  เนื่องจากเป็นดินตื้น  ซึ่งมีเนื้อ

                      ดินเป็นดินทรายปนกรวดและเศษหิน  เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงเขา  ตามล าดับ

                             4.2.3 การศึกษาการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีตั้งแต่ พ.ศ. 2549 – 2554

                             1) ค่าความเป็นกรด – เป็นด่างของดิน  มีค่าพิสัยเป็น  pH 4.0 – 5.86  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมิน
                      ระดับกรดจัดมาก – กรดน้อย – ปานกลาง  แปลงที่เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด – เป็นด่างของดินมาก

                      ที่สุด  คือ แปลงป่าปลูกปี 2542 (ปทม.1)  มีค่าความเป็นกรด –เป็นด่างของดิน  ดินบน pH  5.26  อยู่ใน

                      เกณฑ์ประเมินระดับเป็นกรดจัด  และเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด –  เป็นด่างของดินเพิ่มขึ้นจากเดิม

                      1.26  และแปลงที่เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด –  เป็นด่างของดินน้อยที่สุด  คือ แปลงปลูกป่าปี 2537
                      (ปทม.7)  มีค่าความเป็นกรด –  เป็นด่างของดิน  4.88  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ประเมินระดับความเป็นกรดจัด

                      และเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด – เป็นด่างของดินลดลงจากเดิม  0.62  ตามล าดับ
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123