Page 533 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 533

519



                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการเพาะปลูกพืช

                         การจัดการกลุมชุดดินที่ 50 ใหเหมาะสมในการปลูกพืช ตองพิจารณาถึงขอจํากัดตางๆ แลวเลือก

                  ระบบการใชใหสอดคลองกับศักยภาพของที่ดิน ดังนี้

                          6.1 เลือกชนิดของพืชใหเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชนิดของดิน  เนื่องจากกลุมชุดดินนี้อยูใน

                  พื้นที่ดอน สภาพภูมิประเทศเปนลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขาและดินระบายน้ําดี จึงเหมาะสมในการปลูกพืช

                  ตางๆ เชน 1) พืชยืนตน ไดแก ไมผล ยางพารา ไมโตเร็ว 2) พืชไรอายุสั้น เชน ขาวโพด ถั่ว หรือ 3) หญาเลี้ยง

                  สัตว โดยพิจารณาถึงความลาดชันดวย  กลาวคือ 1) บริเวณที่มีความลาดชันนอย ควรปลูกไมผล พืชไร

                  พืชผัก  และพัฒนาเปนทุงหญาเลี้ยงสัตว และ 2) บริเวณที่มีความลาดชันสูง ควรปลูกยางพารา  ไมโตเร็ว
                  หรือปลูกสรางสวนปา


                          6.2 จัดระบบการปลูกพืชใหเหมาะสม   โดย 1) จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนที่มีพืชตระกูลถั่ว

                  แทรกอยูกับพืชชนิดอื่น หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแซมอยูในแถวพืชหลัก เชน ขาวโพด แตงโม มะละกอ และ 2)

                  ในบางปปลูกพืชที่เปนปุยพืชสด เชน ปอเทือง โสนกอนปลูกพืชหลักประมาณ 2-3 เดือน แลวไถกลบเมื่อพืช
                  ออกดอก


                          6.3 ปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน  เนื่องจากกลุมชุดดินนี้มีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติ
                  ต่ํา  จึงจําเปนตองมีการใชปุยอินทรียรวมกับปุยเคมี สําหรับการใชปุยอินทรีย ไดแก ปุยพืชสด ปุยหมักหรือ

                  ปุยคอกนั้น  เพื่อชวยเพิ่มธาตุอาหาร ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดิน  หากดินยังขาด

                  แคลนธาตุใดอีก ก็เสริมดวยปุยเคมีตามชนิดและอัตราที่เหมาะสม ซึ่งกลาวไวในหัวขอที่ 9


                          6.4 การอนุรักษดินและน้ํา  มีสําคัญมากสําหรับกลุมชุดดินนี้ เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชัน
                  และหนาดินเปนดินรวนปนทราย      จึงถูกชะลางและพังทลายงาย ควรอนุรักษดินดวยวิธีการทางพืช

                  ผสมผสานวิธีกล สําหรับวิธีการทางพืช เชน  ปลูกพืชคลุมดินหรือคลุมดินระหวางแถวพืชดวยอินทรียสาร

                  ตางๆ  และปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเท สวนวิธีกล ไดแก ไถพรวนตามแนวระดับ ทําขั้นบันได

                  ดิน ทําคันดินรับน้ํา รวมทั้งการพัฒนาแหลงน้ําในพื้นที่

                  7. ขอเสนอแนะ


                         กลุมชุดดินที่ 50 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชยืนตน เชน ยางพารา ปาลมน้ํามัน มะมวงหิม
                  พานต มะพราว กาแฟ โกโก ทุเรียน มังคุด เงาะ  และพืชไร เชน ขาวไร ขาวโพด ถั่ว สับปะรด  ตลอดจนทํา

                  เปนทุงหญาเลี้ยงสัตว แตไมคอยเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชผัก เนื่องจากขาดแคลนแหลงน้ํา  และไม

                  เหมาะสมในการทํานาเนื่องจากดินไมคอยเก็บกักน้ํา  อยางไรก็ตามเพื่อใหการใชประโยชนมีประสิทธิภาพ

                  สูงสุด  จึงควรดําเนินการดวยระบบเกษตรแบบผสมผสาน เชน  ปลูกพืชอาหารสัตวในสวนไมผล ปลูกพืช
                  คลุมดินแซมในแถวไมผลหรือยางพารา  หรือการปลูกพืชอื่นๆ รวมกับการเลี้ยงสัตว ซึ่งกิจกรรมเหลานี้มี

                  ความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
   528   529   530   531   532   533   534   535   536   537   538