Page 529 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 529

515



                         ดินบนลึกไมเกิน 15  ซม. มีเนื้อดินเปนดินรวนปนทราย สีพื้นเปนสีน้ําตาล หรือสีเขมมากของสี

                  น้ําตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดถึงกรดรุนแรงมาก(pH 4.5-5.5) ดินบนตอนลางมีเนื้อดินเปนดินรวน
                  ปนทราย สีพื้นเปนสีน้ําตาลเขม ถึงสีน้ําตาลแก ปฏิกิริยาดินเปนกรดปานกลางถึงกรดรุนแรงมาก(pH 4.5-

                  6.0)  ดินลางมีเนื้อดินเปนดินรวนเหนียวปนทราย ปนกรวดมาก หรือดินรวนเหนียวปนกรวดมาก (สวนมาก

                  พบในสวนที่ลึกกวา 50  ซม.)  กรวดที่วานี้เปนพวกศิลาแลงที่ไมจับตัวกันแนน สีพื้นเปนสีน้ําตาลแก หรือสี

                  เหลืองปนน้ําตาล ปฏิกิริยาดินเปนกรดปานกลางถึงกรดรุนแรงมาก(pH 4.5-6.0)

                                3.2.2 ชุดดินพะโตะ (Phato series: Pto)

                         จัดอยูใน loamy skeletal, mixed, semiactive, isohyperthermic Typic Hapludults เกิดจากการ

                  ผุพังสลายตัวของหินดินดาดเชิงเขา หรือวัตถุตกคางของหินทราย และหินควอรตไซต บนที่ลาดเชิงเขา หรือ
                  เนินเขาที่ถูกกัดกรอน สภาพพื้นที่ที่พบมีลักษณะเปนลูกคลื่นลอนลาด จนถึงเนินเขา มีความลาดชัน 5-16

                  เปอรเซ็นต ชุดดินนี้เปนดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ําคอนขางมาก คาดวาดินมีความสามารถใหน้ําซึม

                  ผานไดเร็ว มีการไหลบาของน้ําบนผิวดินเร็ว ตามปกติแลวระดับน้ําใตดินอยูลึกกวา 1 เมตรตลอดป

                         ดินบนลึกไมเกิน 15   ซม. มีเนื้อดินเปนดินรวนปนทราย สีพื้นเปนสีน้ําตาลเขม หรือสีน้ําตาล

                  ปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก(pH 4.5-5.0)  สวนดินลางตอนบนมีเนื้อดินเปนดินรวนปน
                  ทราย ถึงดินรวนเหนียวปนทราย สีพื้นเปนสีน้ําตาลแก ถึงสีเหลืองปนแดง ถัดจากชั้นนี้ลงไปในระดับความ

                  ลึกประมาณ 50-100  ซม. จะพบชั้นดินที่มีเนื้อดินเปนดินรวนเหนียวปนเศษหิน เศษหินเหลานี้จะปนอยูกับ

                  เนื้อดิน มีปริมาณมากวา 50  เปอรเซ็นตโดยปริมาตร และจะเพิ่มมากขึ้นตามความลึก เศษหินพวกนี้

                  ประกอบดวยหินที่กําลังผุพังสลายตัวไปแลว สวนที่เหลือคางจะเปนพวกหินควอรตไซต หินทรายเปนสวน
                  ใหญ ชั้นนี้จะมีสีพื้นเปนสีแดงปนเหลือง และจะแดงขึ้นตามความลึก ปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดมากถึงกรด

                  รุนแรงมาก(pH 4.5-5.0)


                  3.3 การประเมินความอุดมสมบูรณของดิน

                         การประเมินความอุดมสมบูรณของดินแตละชุดไดใชสมบัติทางเคมี 5  อยาง คือ คาความจุในการ

                  แลกเปลี่ยนแคตไอออน(CEC)  เปอรเซ็นตอิ่มตัวดวยเบส(base saturation percentage, %BS)  ปริมาณ
                  อินทรียวัตถุในดิน(OM) ฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน(avai.P) และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได(exch.K) ซึ่งได

                  จากผลของการวิเคราะหดินที่เปนตัวแทนของชุดดินในกลุมชุดดินนี้  โดยพิจารณาเฉพาะผิวดินระดับความ

                  ลึก 0-30 ซม.  สําหรับวิธีประเมินใชวิธีการในคูมือการวินิจฉัยคุณภาพของดินสําหรับประเทศไทย ป 1973

                  (Soil Interpretation Handbook for Thailand, 1973) พิมพเผยแพรโดยกรมพัฒนาที่ดิน  ซึ่งผลของการ

                  ประเมินสรุปไดดังตารางที่ 50.5
   524   525   526   527   528   529   530   531   532   533   534