Page 395 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 395

381



                  5. ปญหาและขอจํากัดในการปลูกพืช

                          5.1 เนื้อดินเปนทรายจัด  ดินจึงมีสมบัติไมเหมาะสมดังนี้ คือ 1) ความจุในการดูดซับธาตุอาหารพืช

                  ที่เปนแคตไอออนต่ํามาก ธาตุอาหารดังกลาวที่มีอยูในดิน จึงสูญหายโดยการชะลางไดงายในฤดูฝน และ 2)

                  ดินอุมน้ําไดนอย ความชื้นที่เปนประโยชนในดินจึงต่ํา ตองรดน้ําบอยครั้งจึงจะเพียงพอตอการเจริญเติบโต

                  ของพืช

                          5.2 ความอุดมสมบูรณของดินต่ํามาก  เนื่องจากขาดแคลนธาตุอาหารหลายธาตุ


                          5.3 มีชั้นดานอินทรีย สวนใหญพบในชวงความลึก 1 เมตรจากผิวดิน ชั้นดานนี้เปนอุปสรรคตอการ
                  เจริญเติบโตของพืช เนื่องจากในฤดูแลงชั้นดานจะแข็งจนรากพืชชอนไชผานไมได สวนในฤดูฝนก็มักมีน้ําแช

                  ขัง


                          5.4 ขาดแคลนน้ําและคุณภาพของน้ําใตดินไมดี  เนื่องจากน้ําใตดินเปนกรดจัด ไมเหมาะสมที่จะ

                  นํามาใชดานการเกษตร

                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการปลูกพืช

                          6.1  ใชปุยอินทรียหรือวัสดุปรับปรุงดิน  ปุยอินทรียที่ใชไดแกปุยหมักและปุยคอก สวนวัสดุปรับปรุง

                  ดินควรเปนวัสดุที่หาไดงายในทองถิ่น เชน เปลือกถั่วลิสง เศษพืช เศษหญาฯลฯ  ทั้งปุยอินทรียและวัสดุ

                  ปรับปรุงดินที่ใสในดินนั้น เมื่อสลายตัวดีแลว จะชวยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินให
                  ดีขึ้น ดินจึงอุมน้ําและดูดซับธาตุอาหารพืชไดมากกวาเดิม


                          6.2  ใชวัสดุคลุมดินหรือปลูกพืชคลุมดิน  การใชวัสดุที่หาไดงายในทองถิ่น เชน เศษพืชหรือเศษ

                  หญาคลุมดินระหวางแถวพืชลมลุก หรือปลูกพืชคลุมดินระหวางแถวพืชยืนตน จะชวยปองกันการระเหยน้ํา

                  จากผิวดิน และเพิ่มประสิทธิภาพการใชน้ําของพืชหลัก
                         6.2.1  พืชไร (สับปะรด) เตรียมดินโดยปรับพื้นที่ใหสม่ําเสมอ ยกรองเปนแถวคูใหมีระยะระหวาง

                  แถว 50 ซม. และระยะหางระหวางแถวคู 1 เมตร หวานปุยคอกหรือปุยหมักบนรองอัตรา 3-4 ตัน/ไร ใสปูน

                  ขาว อัตรา 500 กก./ไร พรวนคลุกใหเขากับดินแลวปลอยไวนาน 1-2 สัปดาหกอนปลูก ระยะปลูกสับปะรดที่

                  เหมาะสม คือ มีระยะหางระหวางตนประมาณ 25  ซม.การใสปุยเคมีที่เหมาะสมกับคาความอุดมสมบูรณ

                  ของดินซึ่งแสดงไวในตารางที่ 42.5 คือ ปุยสูตร 20-8-20 อัตรา 200 กก./ไร แบงใส 2 ครั้งเทาๆ กัน ที่อายุ 3
                  และ 6 เดือน หลังปลูก โดยทั้ง 2 ครั้ง จะใสขางแถวปลูกแลวพรวนกลบ การใสปุยอินทรียซ้ําทั้งในปที่ 2 และ

                  3 ในอัตรา 3-4 ตัน/ไร รวมกับปุยเคมีที่กลาวมาแลวในปที่ 2 และ 3 ก็จะยิ่งชวยใหการใชปุยเคมีของ

                  สับปะรดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


                         6.2.2 พืชผัก (ผักกาดเขียวปลี ผักบุง ผักคะนา ผักกวางตุง พริก มะเขือ)
   390   391   392   393   394   395   396   397   398   399   400