Page 392 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 392

378



                         ดินบนลึกไมเกิน 20    ซม. มีเนื้อดินเปนดินทรายปนดินรวน สีพื้นเปนสีดํา หรือสีเทาเขมมาก

                  ปฏิกิริยาดินเปนกรดปานกลางถึงกรดจัดมาก(pH 5.0-6.0)  ดินบนตอนลางซึ่งเปนชั้นที่ถูกชะลางชั้นนี้มี
                  ความหนาไมแนนอน แตโดยทั่วๆ ไปแลว จะมีความหนาตั้งแต 10-60 ซม. ชั้นนี้มีเนื้อดินเปนดินทราย สีพื้น

                  เปนสีเทาออน หรือสีน้ําตาล เนื่องจากมีการสะสมของอินทรียวัตถุและธาตุเหล็กที่ถูกชะลางมาจากดินชั้น

                  บน ปฏิกิริยาดินเปนกรดปานกลางถึงกรดรุนแรงมาก(pH 4.5-6.0)


                          3.3 การประเมินความอุดมสมบูรณของดิน

                         การประเมินความอุดมสมบูรณของดินแตละชุดไดใชสมบัติทางเคมี 5  อยาง คือ คาความจุในการ

                  แลกเปลี่ยนแคตไอออน(CEC)  เปอรเซ็นตอิ่มตัวดวยเบส(base saturation percentage, %BS)  ปริมาณ
                  อินทรียวัตถุในดิน(OM) ฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน(avai.P) และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได(exch.K) ซึ่งได

                  จากผลของการวิเคราะหดินที่เปนตัวแทนของชุดดินในกลุมชุดดินนี้  โดยพิจารณาเฉพาะผิวดินระดับความ

                  ลึก 0-30 ซม.  สําหรับวิธีประเมินใชวิธีการในคูมือการวินิจฉัยคุณภาพของดินสําหรับประเทศไทย ป 1973

                  (Soil Interpretation Handbook for Thailand, 1973) พิมพเผยแพรโดยกรมพัฒนาที่ดิน  ซึ่งผลของการ

                  ประเมินสรุปไดดังตารางที่ 42.5

                  ตารางที่ 42.5 ผลการวิเคราะหดิน และระดับความอุดมสมบูรณของแตละชุดดิน

                                            CEC         BS         OM        Avai.P   Exch.K  ระดับความอุดม
                      ชุดดิน      pH
                                          cmol /kg      (%)        (%)      (mg/kg)   (mg/kg)     สมบูรณ
                                              c
                   บานทอน       4.48       3.07        8.00       0.97      3.98      13.40        ต่ํา

                   คามัธยฐาน    4.48       3.07        8.00       0.97      3.98      13.40        ต่ํา


                  สรุป : จากการประเมินความอุดมสมบูรณของกลุมชุดดินที่ 42 พบวามีความอุดมสมบูรณต่ํา

                  4. การประเมินความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชตางๆ


                         กลุมชุดดินที่ 42 มีศักยภาพคอนขางไมเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชทั่วไป มีพืชนอยชนิดที่สามารถ

                  ขึ้นไดและใหผลผลิตเพียงระดับปานกลาง เนื่องจากเปนดินทรายจัด  ความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติต่ํา

                  มากและมีชั้นดานอินทรียอยูในดินชั้นลาง แตสามารถจะพัฒนาเปนทุงหญาเลี้ยงสัตวได เพื่อใหเกษตรกรมี

                  ทางเลือกในการใชที่ดิน  จึงจัดชั้นความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเปน 3 แบบ คือ การปลูกพืชในฤดูฝน
                  ฤดูแลงและหลังการพัฒนาที่ดินแลว ดังตารางที่ 42.6



                  ตารางที่ 42.6 ชั้นความเหมาะสมของกลุมชุดดินที่ 42 ที่ปลูกในฤดูกาลตางๆ กัน และปลูกในเขตชลประทาน

                          ชนิดพืช           ปลูกฤดูฝน         ปลูกฤดูแลง      ชลประทาน          หมายเหตุ

                   ขาว

                     ขาวนา                   S2o               S2o              S2o
   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397