Page 353 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 353

339



                         8.2.3 ผักกาดขาวปลี  การเตรียมดินคลายคลึงกับกะหล่ําดอกเพียงแตเตรียมดินใหละเอียดขึ้น

                  และทําแนวรองสําหรับหยอดเมล็ดพันธุลึกประมาณ 0.5-0.8  ซม. เพราะเมล็ดพันธุมีขนาดเล็ก ระยะปลูก
                  ระหวางตน และแถว คือ 30-50 และ 40-75 ซม.ตามลําดับ


                          8.3 การเตรียมดินสําหรับปลูกไมผล และไมยืนตน

                         8.3.1 เงาะ  ไถพรวนปรับพื้นที่ใหลาดเทเล็กนอย ทําหลุมปลูกขนาด 50×50×50 ซม. ผสมดินปลูก

                  ดวยปุยหินฟอสเฟต 200-300 กรัม/หลุม และปุยคอกแหงประมาณ 2  บุงกี๋ กลบลงในหลุมใหสูงกวาระดับ

                  ขอบหลุม 20-25 ซม.

                         8.3.2 ปาลมน้ํามัน  เตรียมหลุมปลูกหลังการปกหลักเพื่อจัดแนวปลูกโดยใชระยะ 9x9 เมตร  ใน

                  ลักษณะเปนรูปสามเหลี่ยมดานเทา ใหทําการขุดหลุมเปนรูปตัวยู ขนาด กวางxยาวxลึก   ประมาณ

                  60x60x60 ซม. ตากดินทั้งไวประมาณ 1 เดือน เมื่อใกลเวลาปลูกใหใสปุยหินฟอสเฟตรองกนหลุม ประมาณ

                  หลุมละ 250 กรัม เพื่อเรงการเจริญเติบโต

                         8.3.3 ยางพารา  ไถดินลึก 30-40 ซม. ทิ้งไว 5-7 วัน แลวไถพรวนอีกอยางนอย 2 ครั้ง พรอมทั้งเก็บ

                  ตอไม  และเศษวัชพืชออกใหหมด  วางแนวปลูกตามแนวตะวันออก–ตะวันตก (สําหรับพื้นที่ลาดเอียง

                  มากกวา 15 องศา ควรวางแนวปลูกตามขั้นบันได) ยางพาราในแหลงปลูกยางเดิมควรใชระยะปลูก 2.5x8.0
                  หรือ 3.0x7.0 เมตร สวนในแหลงปลูกยางใหมควรมีระยะปลูก 2.5x7.0 หรือ3.0x6.0 เมตร หลุมปลูกควรมี

                  ขนาด 50x50x50  ซม. รองกนหลุมดวยปุยหินฟอสเฟต 170  กรัม/หลุม ในแหลงปลูกยางใหมควรใชปุยอินทรีย5

                  กก./ตน รองกนหลุมรวมกับปุยหินฟอสเฟตดวย


                  9. การใชปุยสําหรับพืชชนิดตางๆ

                          9.1 การใชปุยสําหรับพืชไร

                         ใชปุยเคมีเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณของดินและเพิ่มผลผลิตพืชไรที่ปลูก สําหรับ อัตราการใช

                  และวิธีการใสปุย  พอกลาวสรุปตามผลการวิเคราะหดินที่แสดงไวในตารางที่ 39.5 เปนดังนี้

                         9.1.1  ถั่วลิสง  สําหรับพื้นที่ที่ไมเคยปลูกถั่วนี้มากอน หรือเคยปลูกแตนานมาแลวแนะนําใหคลุก

                  เชื้อไรโซเบียมที่เหมาะสมกับเมล็ดถั่วพรอมปลูก สําหรับปุยเคมีที่ใชกับชุดดินทั้ง 4 คือ ชุดดินคอหงษ

                  ทุงหวา นาทวี และสะเดา ซึ่งมีระดับความอุดมสมบูรณในเกณฑต่ํา คือ ปุยสูตร 12-24-12 อัตรา 25 กก./ไร

                  โดยใสขางแถวปลูกเพียงครั้งเดียวแลวพรวนกลบเมื่ออายุระหวาง 1-3 สัปดาห

                         9.1.2 สับปะรด  ทั้ง 4 ชุดดินดังกลาวจะตองใชปุยสูตร 20-8-20 อัตรา 200 กก./ไร โดยแบงใส 2

                  ครั้งเทาๆ กัน ครั้งแรกเมื่ออายุได 3 เดือน ครั้งที่สองอายุประมาณ 6 เดือน โดยใสขางแถวแลวพรวนกลบ
   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358