Page 12 - คู่มือการสำรวจดิน
P. 12

2.2.3  การตรวจสอบขั้นสุดทาย (final review) เปนการดําเนินงานในระยะที่งานสํารวจดินในสนามใกลจะ

            เสร็จหรือเสร็จแลว เพื่อตรวจสอบดูวาหนวยแผนที่ดินและขอบเขตของดิน (soil boundary) บนแผนที่ดินที่ไดทําไวนั้น
            มีความถูกตองหรือไม หากมีปญหาอาจมีความจําเปนตองการขุด เจาะ เพื่อตรวจสอบลักษณะดินใหมใหมีความถูกตอง

            พรอมที่จะถายทอดขอบเขตบนแผนที่พื้นฐานได

            2.3 วิธีการดําเนินการ

                   2.3.1 การปฏิบัติงานกอนออกสนาม

                          2.3.1.1  การแปลภาพถายทางอากาศ
                          1)  การแปลภาพถายทางอากาศ โดยใชกลองสามมิติ

                          1.1)  ลักษณะบนภาพถายทางอากาศที่ใชในการแปลและกําหนดหนวยพื้นที่

                          มีลักษณะสําคัญหลายอยางที่สามารถใชแปลความหมาย  เพื่อประโยชนในการสํารวจและทําแผน
            ที่ดิน คือ

                          1.1.1)  ความเขมของสี (tone)  ความเขมของสีใชแปลความหมายในดานความแตกตางของภูมิ

            ประเทศและพืชพรรณ เพื่อรวมเขาเปนหนวยแผนที่
                          1.1.2)  แบบรูป (pattern)  คือการจัดเรียงตัวหรือการกระจายของสิ่งที่ปรากฏบนภาพถายทางอากาศ

            ในลักษณะซ้ําๆ กันจะบอกใหทราบถึงความเหมือนหรือความแตกตางกันของพื้นที่

                          1.1.3) จุดประ (mottling) เปนกลุมของจุดตางๆ ที่ปรากฏบนภาพถาย อาจจะสีจางกวาบริเวณรอบๆ
            ทําใหเห็นความแตกตางระหวางบริเวณนั้นกับบริเวณอื่นๆ

                          1.1.4)  เนื้อ  (texture) เปนความหยาบหรือละเอียดของภาพที่เกิดจากความเขมขนของสีตางๆ กัน

            ใชแปลความหมายเกี่ยวกับความแตกตางของการใชที่ดินและพืชพรรณ

                          1.1.5) รูปราง (shape) เปนรูปรางของสิ่งที่ปรากฏบนภาพถายที่แสดงวาเปน แมน้ํา ตนไม  อาคาร
            บานเรือน เปนตน

                          1.1.6) ขนาด (size) คือขนาดของสิ่งตางๆ หรือแบบรูปตางๆ ที่ปรากฏบนภาพถายทางอากาศ

                          1.1.7)  เงา (shadow)  คือ  สิ่งที่ทําใหมองเห็นลักษณะของสิ่งที่ปรากฏในภาพถายไมชัดเจนการแปล
            ภาพถายควรวางใหเงาทอดเขาหาตัว เพราะถาอยูในทางตรงกันขาม อาจทําใหมองเห็นภาพเปนแบบกลับความสูง คือ

            สวนที่ลึกจะสูงขึ้นมา แทนที่จะมองเห็นวาลึกลงไป เปนตน

                          นอกจากนี้ยังมีลักษณะอื่นๆ  อีกมากมาย  ในการแปลความหมายภาพถายทางอากาศเพื่อการสํารวจ

            ดินนั้น  จะตองใชลักษณะตางๆ  เหลานี้แทบทั้งหมดในการแจกแจงหนวยดิน  และผูแปลจะตองมีความเขาใจในเรื่อง
            การสํารวจดินและลักษณะของดินเปนทุนเดิมอยูกอนแลวดวย จึงจะทําใหการแปลถูกตองและมีประสิทธิภาพ

                          1.2) หลักการแปลภาพถายทางอากาศในการสํารวจดิน  มีขั้นตอนหลักดังตอไปนี้

                          1.2.1) การอานภาพถาย (detection) คือการศึกษาเบื้องตนวาองคประกอบตางๆ ในพื้นที่ จริงๆ โดย
            แยกลักษณะที่ปรากฏเดนชัดดวยการมองเห็นจากสายตา







                                                            6
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17