Page 69 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 69

บทที่ 3

                                                    การประเมินคุณภาพที่ดิน



                              การประเมินคุณภาพที่ดินเปนการพิจารณาศักยภาพของหนวยทรัพยากรที่ดินตอการใช

                       ประโยชนที่ดินประเภทตางๆ ในระดับการจัดการที่แตกตางกัน

                              การประเมินคุณภาพที่ดินในหลักการของ FAO Framework สามารถทําได 2 รูปแบบ
                              รูปแบบแรก การประเมินทางดานคุณภาพหรือเรียกอีกอยางหนึ่งวาเปนการประเมินเชิง

                       กายภาพเทานั้น วาที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือนอยเพียงใดตอการใชประโยชนที่ดินประเภทตางๆ

                              รูปแบบที่สอง การประเมินทางดานปริมาณหรือดานเศรษฐกิจ ซึ่งจะใหคาตอบแทนในรูป

                       ผลผลิตที่ไดรับ ตัวเงินในการลงทุน และตัวเงินจากผลตอบแทนที่ไดรับ
                       การกําหนดคุณภาพที่ดิน

                              คุณภาพที่ดินที่นํามาประเมินสําหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO Framework ไดกําหนด

                       ไวทั้งหมด 25  ชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยูกับความพรอมของขอมูล ความแตกตางของภูมิภาค และระดับ

                       ความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลตอผลผลิต ตลอดจนชนิดของพืช และความตองการการใช
                       ประโยชนที่ดิน (Land Use Requirements)  ดังนั้นคุณภาพที่ดิน (Land Qualities) ที่นํามาใชมีดังนี้

                              - ระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime: t) คุณลักษณะที่ดินที่เปนตัวแทน ไดแก

                       คาอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูกเพราะอุณหภูมิมีอิทธิพลตอการงอกของเมล็ด ตอการออกดอกของพืชบางชนิด
                       และมีสวนสัมพันธกับขบวนการสังเคราะหแสง ซึ่งจะสงผลกระทบตอการเจริญเติบโตของพืช

                              - ความชุมชื้นที่เปนประโยชนตอพืช (Moisture availability: m) คุณลักษณะที่ดิน

                       ที่เปนตัวแทน ไดแก ระยะเวลาการทวมขังของน้ําในฤดูฝน ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยในรอบปหรือ
                       ความตองการน้ําในชวงการเจริญเติบโตของพืช

                              - ความเปนประโยชนของออกซิเจนตอรากพืช (Oxygen availability: o) คุณลักษณะที่ดิน

                       ที่เปนตัวแทน ไดแก สภาพการระบายน้ําของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วๆ ไป รากพืชตองการ

                       ออกซิเจนในขบวนการหายใจ
                              - ความเปนประโยชนของธาตุอาหาร (Nutrient availability: s) คุณลักษณะที่ดินที่เปน

                       ตัวแทน ไดแก ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน

                              - ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient retention capacity: n) คุณลักษณะที่ดินที่

                       เปนตัวแทน ไดแก ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation exchange capacity) และความ
                       อิ่มตัวดวยดาง (Base saturation)







                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจขาวนาปรัง                     สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74