Page 39 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 39

2-25








                       จํานวน 673 โครงการ พื้นที่ไดรับประโยชน 1,002,000 ไร และโครงการสูบน้ําดวยไฟฟา จํานวน
                       84 โครงการ พื้นที่ไดรับประโยชน 148,000 ไร

                                     5) โครงการพัฒนาแหลงน้ําผิวดินภาคใต

                                         โครงการพัฒนาแหลงน้ําผิวดินภาคใตแบงเปนโครงการขนาดใหญและ
                       ขนาดกลาง จํานวน 84 โครงการ พื้นที่ไดรับประโยชน 2,061,000 ไร โครงการขนาดเล็ก จํานวน

                       1,198 โครงการ พื้นที่ไดรับประโยชน 1,555,000 ไร และโครงการสูบน้ําดวยไฟฟา จํานวน 99 โครงการ

                       พื้นที่ไดรับประโยชน 115,000ไร

                           2.4.3 สถานการณน้ําและสภาพการเพาะปลูกพืชในปจจุบัน


                                จากการวิเคราะหสถานการณน้ําในชวงปลายป 2547 ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 พบวา
                       ปริมาตรน้ําของอางเก็บน้ําขนาดใหญทั่วประเทศ 29,371  ลานลูกบาศกเมตร  คิดเปนรอยละ 66

                       ของความจุใชการไดของอางฯ โดยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต

                       อยูรอยละ 68 63 69 และ 60 ของความจุใชการไดของอางฯ ตามลําดับ อางฯ ที่มีปริมาตรน้ําอยูในเกณฑ

                       นอยกวารอยละ 40 ไดแก อางเก็บน้ําแมกวง  ลําตะคอง ลําพระเพลิง  กระเสียว  ทับเสลา และบางพระ
                       อางเก็บน้ําเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเปนแหลงน้ําตนทุนที่สําคัญของโครงการเจาพระยาใหญ

                       มีปริมาตรน้ําในอางฯ ใชการไดรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 11,079 ลานลูกบาศกเมตร ของความจุเก็บกัก

                       คิดเปนรอยละ 68 ของความจุเก็บกัก ตามลําดับ จะเห็นไดวา สภาพน้ําในแมน้ําสายตางๆ ในลุมน้ํา
                       ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต สวนใหญอยูในเกณฑนอย

                       แนวโนมระดับน้ําลดลงมากกวาปกอนมาก

                                เนื่องจาก ในฤดูแลงปนี้ปริมาณน้ําในอางเก็บน้ําหลายแหง  เชน  อางเก็บน้ํากระเสียว
                       จังหวัดสุพรรณบุรี อางเก็บน้ําทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี อางเก็บน้ําลําตะคอง และอางเก็บน้ํา

                       ลําพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา อยูในเกณฑนอย ดังนั้น การบริหารจัดการน้ําในอางเก็บน้ําดังกลาว

                       จึงมีความสําคัญยิ่ง  กรมชลประทาน  จึงไดรวมหารือกับหนวยงานที่เกี่ยวของ  เพื่อประสาน
                       ความรวมมือกันในการบริหารจัดการน้ําในอางเก็บน้ํา วางแผนการบริหารจัดการนําใหเพียงพอ

                       ตลอดชวงฤดูแลง  เนนสนับสนุนการอุปโภค  บริโภค  และการประปาเปนหลัก  เพื่อลดปญหา

                       การขาดแคลนน้ําอุปโภค–บริโภคที่อาจเกิดขึ้นได

                                เมื่อวิเคราะหเปรียบเทียบสถานการณน้ําขณะนั้น พบวา ปริมาณน้ําในอางเก็บน้ําขนาดใหญ
                       ป 2547/48 เมื่อเทียบกับ ป 2546/47 ในระยะเดียวกัน ในชวงตนฤดูแลงปนี้ (ตุลาคม 47-กุมภาพันธ 48)

                       ปริมาณน้ําในอางเก็บน้ําขนาดใหญมีนอยกวาชวงเดียวกันของปกอน (ตารางที่ 2-10)โดยในชวง

                       ระยะเวลาดังกลาวฝนตกนอย  สงผลใหมีปริมาณน้ําฝนไหลลงอาง 5,597  ลานลูกบาศกเมตร ซึ่ง

                       นอยกวาปกอน 2,780 ลานลูกบาศกเมตร สถานการณที่เกิดขึ้นนี้หลายหนวยงานประเมินในขณะนั้นวา



                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจขาวนาปรัง                     สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44