Page 30 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมังคุด
P. 30
2-10
จึงใหกําเนิดดินที่เปนดินเหนียว มีปริมาณเกลือสูง มีสภาพการระบายน้ําเลว พบเปนบริเวณไมกวางนัก
ทางดานตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดชลบุรีทางดานใตของจังหวัดระยองและ
จันทบุรี ทางดานตะวันออกของจังหวัดตราด ปกคลุมดวยปาชายเลน บางสวนใชทํานาเกลือและ
เลี้ยงกุง
1.3) ธรณีสัณฐานที่เปนที่ราบลุมน้ําทะเลและน้ํากรอยเคยทวมถึงมากอน
(former tidal flats with marine and brackish water deposits) อยูถัดเขามาจากพื้นที่ราบลุมน้ําทะเล
ทวมถึงในปจจุบัน วัตถุตนกําเนิดดินเปนตะกอนเนื้อละเอียด เนื้อดินจึงมีลักษณะเปนดินเหนียว
มีสภาพการระบายน้ําเลว ปฏิกิริยาของดินไมแนนอน บางแหงพบดินเปรี้ยวจัด (acid sulfate soils)
เหมือนกับที่พบในภาคกลาง พื้นที่สวนนี้จะพบเปนบริเวณกวางในจังหวัดชลบุรีดานเหนือ จังหวัด
ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรีทางดานใต สวนในจังหวัดระยอง จันทบุรี พบเปนบริเวณแคบ ๆ
1.4) ธรณีสัณฐานที่เปนลานตะพักลําน้ํา (river terraces) ที่พบในภาคตะวันออก
เปนบริเวณที่ไมกวางนัก ลานตะพักลําน้ําขั้นต่ํา (low terrace) พบในจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา
และชลบุรี ใชประโยชนในการปลูกขาว ลานตะพักลําน้ําขั้นกลางและขั้นสูงที่พบในจังหวัดชลบุรี
ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี ใชประโยชนในการปลูกพืชไร ลักษณะของดินที่พบมีความแตกตางกัน
ขึ้นกับตะกอนที่น้ําพามาทับถม แตสวนใหญมีเนื้อละเอียดปานกลางถึงคอนขางหยาบหรือเปนทราย
1.5) ธรณีสัณฐานที่เปนเนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) และเนินตะกอนรูปพัด
ที่เกิดขึ้นติดตอกัน (coalescing fans) พบบริเวณที่ลาดเชิงเขา เกิดจากการกระทําของน้ําไดพัดพา
เอาตะกอนจากที่สูงลงมาทับถมในที่ต่ํา และเปนที่ราบ ทําใหเกิดเนินตะกอนแผคลายรูปพัด โดยเฉพาะ
เกิดบริเวณเชิงเขาหินแกรนิต ลักษณะพื้นที่เปนลูกคลื่นลอนลาด ดินที่พบสวนใหญเปนดินรวนเหนียว
ปนทราย สภาพการระบายน้ําดี ใชปลูกพืชไร ไมยืนตนโดยเฉพาะยางพารา
2) ธรณีสัณฐานที่เหลือคางจากการกัดกรอน (erosion surface) พบเปนบริเวณกวาง
ตั้งแตจังหวัดชลบุรีถึงจังหวัดตราด สภาพพื้นที่เปนลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน ความลาดชัน
อยูระหวางรอยละ 4-16 พบมากในอําเภอศรีราชา บานบึง จังหวัดชลบุรี อําเภอบานคาย ปลวกแดง
จังหวัดระยอง ดินที่พบบริเวณธรณีสัณฐานที่เหลือตกคางจากการกัดกรอนเปนดินเนื้อละเอียด
ปานกลางถึงละเอียด มีสีแดง มักมีกรวดลูกรังปน ใชประโยชนในการปลูกไมยืนตน เชน ยางพารา เงาะ
และทุเรียน
3) ธรณีสัณฐานที่เกิดจากหินเหลวเย็นตัว (lava plateau) พบบริเวณกวางพอสมควร
ในเขตอําเภอทาใหม โปงน้ํารอน จังหวัดจันทบุรี และที่อําเภอบอไร จังหวัดตราด สภาพพื้นที่
เปนลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน ลักษณะดินสวนใหญเปนดินเหนียวสีแดงหรือน้ําตาลปนแดง
เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจมังคุด สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน