Page 49 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแล้งในเขตชลประทาน
P. 49

2-36








               จัดสรรน้ําจากอางเก็บน้ําตางๆ โดยลดปริมาณการสงน้ําจากเขื่อนตางๆ จํานวนรอยละ 10  ของ
               ปริมาณน้ําที่เคยสง และขอความรวมมือเกษตรกรในจังหวัดลุมน้ําเจาพระยาตอนลางงดการปลูก

               ขาวนาปรัง ครั้งที่ 2

                         เนื่องจาก ชวงฤดูฝนที่ผานมา มีปริมาณน้ําฝนคอนขางนอยและฝนหมดเร็ว และมีแนวโนม
               ที่จะเกิดภาวะแหงแลงยาวนานกวาทุกๆ ป  และจะเปนสวนสําคัญของการทําใหความยากจนเกิดขึ้น

               ถึงกระนั้นก็ตามสิ่งหนึ่งที่เปนโอกาสดีตอการเพาะปลูกของไทยที่ดีกวาหลายๆ  ประเทศในแถบนี้ก็

               คือ การที่พื้นที่ของประเทศไทยมีความเหมาะสมตอการปลูกพืชไดหลายชนิด ซึ่งแตละชนิดตางก็เปนที่
               ตองการของตลาดแทบทั้งสิ้น  ขณะที่ความตองการดานการเจริญเติบโตของแตละชนิดพืชนั้น

               ตางกัน คือ มีพืชที่ใชน้ําเพื่อการเจริญเติบโตนอยแตสามารถปลูกไดในแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย

               ดังนั้น  กระทรวงเกษตรและสหกรณ  จึงไดกําหนดนโยบายใหปลูกพืชฤดูแลงทดแทนเพื่อลด
               พื้นที่ทํานาปรังในฤดูการผลิตนี้  เพราะปริมาณน้ําตนทุนในเขื่อนมีคอนขางจํากัด ซึ่งอาจจะทําให

               เกษตรกรไดรับความเดือดรอนจากภาวะขาดแคลนน้ํา

                         สําหรับพื้นที่เปาหมายการปลูกพืชฤดูแลงในป 2547/48  ทั้งประเทศ  ตามมติ

               คณะอนุกรรมการวางแผนและสงเสริมการปลูกพืชฤดูแลง  ไดกําหนดพื้นที่เพาะปลูกไวประมาณ
               10.19 ลานไร ประกอบดวย ขาวนาปรังประมาณ 7.52 ลานไร แยกเปนเขตชลประทานประมาณ

               5.4 ลานไร และนอกเขตชลประทาน 2.12 ลานไร ในสวนของพืชไร-พืชผัก ไดกําหนดไวประมาณ

               2.67 ลานไร แยกเปนในเขตชลประทานประมาณ 0.95 ลานไร และนอกเขตชลประทาน 1.72 ลานไร

               ดังนั้น  เพื่อเปนการลดการใชน้ําในเขื่อนและอางเก็บน้ําตางๆ  โดยเฉพาะเขตลุมน้ําเจาพระยาซึ่งมี
               โครงการชลประทานขนาดใหญ และมีการทํานาปรังมากถึงรอยละ 80 ของนาปรังทั้งประเทศ จึงควร

               ปรับเปลี่ยนหันไปปลูกพืชที่ใชน้ํานอยแทน  ดังนั้น  เพื่อใหเตรียมพรอมรับกับสถานการณความ

               แหงแลงที่จะเกิดขึ้นอยางตอเนื่องและยาวนาน  โดยการสงเสริมและสนับสนุนใหเกษตรกรหันมา
               ปลูกพืชแลงที่ใชน้ํานอยแทนการปลูกขาว เชน ขาวโพดหวาน ขาวโพดฝกออน กระเจี๊ยบเขียว และ

               พืชตระกูลถั่ว เปนตน

                         กรมวิชาการเกษตร  ไดแนะนําใหเกษตรกรปลูกพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น  และใชน้ํานอย
               ซึ่งจะชวยชดเชยรายไดใหแกเกษตรกรในชวง 2-3 เดือนในฤดูแลงได โดยพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้นที่

               ใชน้ํานอยมีหลายชนิด ไดแก ถั่วเหลือง นับวาพืชหนึ่งที่ปลูกไดในฤดูแลง แตตองปลูกในพื้นที่

               ที่สามารถใหน้ําได โดยเกษตรกรไมตองเตรียมดิน เมื่อเก็บเกี่ยวขาวแลวถาแปลงนาแหงก็ให
               ระบายน้ําเขาแปลงพอใหดินชื้น  แลวจึงหยอดเมล็ดตามโคนตอซังขาว  ซึ่งกอนปลูกควรคลุก

               เมล็ดถั่วเหลืองดวยเชื้อไรโซเบียม เมื่อหยอดเสร็จควรใชฟางขาวคลุมบางๆ ใหทั่วแปลง จากนั้นตอง

               ใหน้ําทุกๆ 10-14 วัน เมื่อถั่วเหลืองอายุได 85-90 วัน ก็สามารถเก็บฝกสดขายได หรือถาจะเก็บเปน


               เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแลงในเขตชลประทาน    สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54