Page 24 - รายงานการใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง Using of Remote Sensing Data for Soil Fertility Assessment in Areas at Risk of Acidic soil and Saline Soil of Central Thailand
P. 24
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
การวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547) เป็นการ
วิเคราะห์ปฏิกิริยาของดิน (soil reaction) ซึ่งหมายถึง ความเป็นกรด (acidity) หรือความเป็นด่าง (alkalinity)
ของดิน ปกติมักใช้บอกความเป็นกรด-ด่างด้วยค่าที่เรียกว่า พีเอช หรือนิยมเขียนสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
pH ความหมายของค่าพีเอชนี้ขออธิบายดังนี้ ช่วงของพีเอชของดินโดยทั่วไป จะมีค่าอยู่ระหว่างประมาณ
3.0-9.0 ค่า pH 7.0 บอกถึงสภาพความเป็นกลางของดิน กล่าวคือ ดินมีตัวที่ท าให้เป็นกรด และตัวที่ท าให้เป็น
ด่างอยู่เป็ นปริมาณเท่ ากันพอดี ค่าที่ ต่ ากว่า 7.0 เช่น 6.0 บอกสภาพความเป็ นกรดของดิน
ในกรณีนี้เมื่อดินมี pH 6.0 เราก็จะทราบว่า ดินเป็นกรดอย่างอ่อน มีสภาพเป็นกรดมากกว่าดินที่มี
ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.0 หรือเป็นกลาง สิบเท่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินยิ่งลดลงเท่าใด
สภาพความเป็นกรดก็รุนแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0 จะเป็นกรดมากกว่าค่าความ
เป็นกรดเป็นด่าง 6.0 สิบเท่า และมากเป็น 100 เท่าของดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.0 แต่ละค่าของ
ค่าความเป็นกรดเป็นด่างที่ต่างกันหนึ่งหน่วย จะบอกความเป็นกรดที่แตกต่างกันสิบเท่า เช่นเดียวกับดินที่
มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงกว่า 7.0 ก็จะบอกสภาพความเป็นด่างของดิน ยิ่งมีค่าสูงกว่า 7.0 เท่าใด
ความเป็นด่างก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และจะเป็นด่างมากขึ้นเป็นสิบเท่าต่อความแตกต่างกันหนึ่งหน่วยของค่า
ความเป็นกรดเป็นด่าง ความเป็นกรด (acidity) หรือความเป็นด่าง (alkalinity) ของดิน เป็นสมบัติที่
ส าคัญที่มีอิทธิพลต่อขบวนการทางเคมีและชีวภาพในดิน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช
+
-
ความเป็นกรดหรือความเป็นด่างของดินเกี่ยวข้องกับ hydrogen ion (H ) และ hydroxylion (OH) ในสารละลายดิน
(soil solution) โดยปกติในสารละลายดินจะมีไอออนทั้งสองชนิดนี้ ซึ่งการวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็น
-
+
ด่างของดินนิยมวัดเป็นค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เรียกว่ามาตราพีเอช (pH Scale) ถ้ามี H > OH ดิน
-
+
-
+
มีปฏิกิริยาเป็นกรด เรียกดินกรดถ้ามี H < OH ดินมีปฏิกิริยาเป็นด่าง เรียกดินด่าง และถ้ามี H = OH
ดินมีปฏิกิริยาเป็นกลาง เรียกดินเป็นกลางซึ่งแหล่งที่มาที่ส าคัญของ H+ ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นกรดในดิน
ได้แก่
+
H จากกรดในดิน เช่น H2CO3, HNO3, H2SO4 และกรดอินทรีย์ต่างๆ ดังเช่น
H2SO4 2H+ + SO4
=
H ที่เกิดจาก Al และ Fe ในสารละลายดิน เช่น
3+
3+
+
3+
Al + H2O Al(OH)3 + 3H +
-
2+
แหล่งที่มาที่ส าคัญของ OH ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นด่างนั้น ได้แก่ OH ที่เกิดจาก basic cations เช่น Ca ,
-
+
+
Mg , K และ Na เมื่ออยู่ในสารละลายดิน การวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน นิยมวัดออกมาเป็นค่า
2+
+
-
ของ pH แทนการบอกเป็นค่าความเข้มข้นของ H หรือ OH ในสารละลาย ในสารละลายที่มีน้ าเป็นตัวท า
+
-
ละลาย “ผลคูณของความเข้มข้นของ H และ OH จะมีค่าคงที่เท่ากับ 10-14 M ” ดังนั้น การวัดความเป็น
กรดเป็นด่างของสารละลาย จึงนิยมวัดเฉพาะความเข้มข้นของ H+ (active acidity) เท่านั้น โดยที่
pH = -log10[H+]
เมื่อ [H+] คือความเข้มข้นของ H+ ในสารละลาย มีหน่วยเป็นโมลต่อลิตรการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ของดิน ในห้องปฏิบัติการทดลอง วัดด้วยเครื่อง pH meter หลักการเหมือนกับการวัดค่าความเป็นกรด