Page 21 - รายงานการใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง Using of Remote Sensing Data for Soil Fertility Assessment in Areas at Risk of Acidic soil and Saline Soil of Central Thailand
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           15






                                                              บทที่ 3
                                                           ตรวจเอกสาร

                       3.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                               ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (soil fertility) หมายถึง ความสามารถของดินในการให้ธาตุอาหารที่
                       จ าเป็นเพื่อการเจริญเติบโตของพืช กล่าวคือเมื่อธาตุอาหารในดินที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์
                       ได้มีปริมาณที่พอเหมาะและสมดุล จะช่วยให้พืชมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี การรักษาความอุดม

                       สมบูรณ์ของดินจึงถือเป็นสิ่งที่ควรค านึงถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ท าการเพาะปลูกทางการเกษตรเพื่อการค้า
                       การใช้ประโยชน์ที่ดินจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งเกิดจากธรรมชาติและกิจกรรม
                       ของมนุษย์ ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทั้งทางเคมี
                       กายภาพ และชีวภาพ เช่น ปริมาณอินทรียวัตถุลดลง ส่งผลให้ดินมีความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหาร

                       พืชในดินลดลง ความสามารถในการอุ้มน้ าลดลง ความหนาแน่นรวมของดินสูงขึ้น ความพรุนของดินลดลง
                       นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนสภาพป่าเพื่อน าไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรส่งผลต่อระบบการหมุนเวียนธาตุ
                       อาหารซึ่งสะสมอยู่ในรูปมวลชีวภาพของพืช และเมื่อมีการน าผลผลิตออกไปจากพื้นที่ ท าให้สูญเสียธาตุ

                       อาหารไปด้วยส่งผลให้ระบบส ารองธาตุอาหารพืชลดลง และในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์
                       ที่ดินท าให้ดินมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากการจัดการดินส่งผลให้ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น
                       ท าให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปที่พืช
                       ไม่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ หรือบางพื้นที่มีการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลาย และการปลูก
                       พืชติดต่อกันเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดินก็ล้วนแต่ท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                       มีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548) ดังนั้นความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงเป็น
                       สิ่งบ่งชี้ถึงผลิตภาพดิน (soil productivity) ซึ่งเป็นความสามารถของดินในการให้ผลผลิตพืชภายใต้การ
                       จัดการแบบหนึ่งหรือระบบหนึ่ง (กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน, มปป.) คุณลักษณะความอุดมสมบูรณ์

                       ของดินมีระดับและรูปแบบที่แตกต่างกันของความแปรผันเชิงพื้นที่และเวลาในพื้นที่การเกษตร  ความอุดม
                       สมบูรณ์ของดินเป็นสภาพความเหมาะสมของดินที่จะใช้ปลูกพืชชนิดหนึ่งชนิดใดให้เจริญเติบโตและให้ผล
                       ผลิตได้ดี พืชต่างชนิดกันอาจจะต้องการความอุดมสมบูรณ์ของดินต่างกัน ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูก
                       ก าหนดจากเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ ความสามารถที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของ

                       พืชได้สูง คุณสมบัติทางกายภาพต่าง ๆ ของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช และการมีหรือไม่มี
                       สารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ที่จะเป็นพิษต่อพืช การปลูกพืชซ้ าในดินเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการ
                       ปรับปรุงบ ารุงดิน จะท าให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็ง ไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ า
                       และธาตุอาหารได้น้อยลง และที่ส าคัญคือจะท าให้การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควร การใช้ปุ๋ยเคมีที่

                       ได้ผล จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงบ ารุงดิน หากใช้ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการปรับปรุง
                       บ ารุงดินติดต่อกันเป็นเวลานาน จะท าให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ท าให้ผลผลิตลดลง ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมาก
                       ขึ้น เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้น การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นการประเมิน
                       ความสามารถที่ดินจะให้ธาตุอาหารแก่พืช ส่วนหนึ่งเป็นการประเมินสถานภาพหรือคุณสมบัติที่ส่งผลหรือ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26