Page 19 - รายงานการใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง Using of Remote Sensing Data for Soil Fertility Assessment in Areas at Risk of Acidic soil and Saline Soil of Central Thailand
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
2.3 ข้อมูลทั่วไปอ าเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
2.3.1 ที่ตั้งและอาณาเขต อ าเภอปากพลีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด ที่อยู่ที่ว่าการอ าเภอ
ปากพลี ตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 บ้านท่าแดง หมู่ที่ 3 ต าบลเกาะหวาย
อ าเภอปากพลี จังหวัดนครนายกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้ (ส านักงานจังหวัด
นครนายก, มปป.)
ทิศเหนือ ติดต่อกับอ าเภอเมืองนครนายก อ าเภอปากช่อง (จังหวัดนครราชสีมา) และอ าเภอ
ประจันตคาม (จังหวัดปราจีนบุรี)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ าเภอประจันตคามและอ าเภอเมืองปราจีนบุรี (จังหวัดปราจีนบุรี)
ทิศใต้ ติดต่อกับอ าเภอเมืองปราจีนบุรี อ าเภอบ้านสร้าง (จังหวัดปราจีนบุรี) และอ าเภอเมือง
นครนายก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ าเภอเมืองนครนายก
2.3.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชัน
ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี
นครราชสีมา และปราจีนบุรี มีเทือกเขาติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัด
คือ ยอดเขาเขียว มีความสูงจากระดับน้ าทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม
เชิงเขา เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยาที่เรียกว่า ที่ราบ
กรุงเทพ ( Bangkok Plain) ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินเหนียวเหมาะแก่การ ท านา ท าสวนผลไม้
และการอยู่อาศัย ซึ่งติดกับจังหวัดฉะเชิงเทราและปทุมธานี มีฝนตกชุกในฤดูฝนและมีน้ าท่วมขังทุกปี
พื้นที่มีปัญหาดินเปรี้ยว มีแหล่งน้ าธรรมชาติประกอบด้วยคลอง หนอง บึงขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วไป
แต่ไม่สามารถน ามาใช้ในการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้งได้ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก, มปป.;
องค์การบริหารส่วนต าบลปากพลี, มปป.)
2.3.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศของอ าเภอปากพลี อ้างอิงตามสภาพอากาศจังหวัดนครนายก อยู่ภายใต้
อิทธิพลของมรสุมที่พัดปกคลุมประเทศไทย 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมตั้งแต่
ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลมนี้พัดพาความ หนาวเย็นจากประเทศจีนเขามาสู่
ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ท าให้จังหวัดนครนายกประสบกับสภาวะอากาศ หนาวเย็นและแหงแล้ง
ส่วนมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดปกคลุมในช่วงฤดูฝนประมาณ กลางเดือน
พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่และเปนลมที่พัดผ่านทะเล
น าความชื้นและไอน้ าเขาสูจังหวัด ท าให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกโดยทั่วไป ซึ่งรายละเอียดสภาพ
ภูมิอากาศของอ าเภอปากพลีซึ่งอ้างอิงจากสถิติภูมิอากาศ ณ สถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครนครนายก
ระหว่าง พ.ศ.2533–พ.ศ.2562 (ตารางที่ 6)