Page 58 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          48


                  ตารางที่ 15 ระดับปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมในดิน จังหวัดนครนายก ปี 2552 และ ปี 2564

                                                               ปี 2552                     ปี 2564
                   ระดับปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสม               เนื้อที่                     เนื้อที่
                            ในดิน (ตัน/ไร่)
                                                         ไร่          ร้อยละ           ไร่         ร้อยละ

                   ต่ำมาก (0-2 ตัน/ไร่)                         352               0.03             931           0.07

                   ต่ำ (2-5 ตัน/ไร่)                      125,206               9.44         65,669           4.95

                   ปานกลาง (5-8 ตัน/ไร่)                  188,411             14.20       210,880         15.90

                   ค่อนข้างสูง (8-12 ตัน/ไร่)             145,443             10.97       225,973         17.04
                   สูง (12-16 ตัน/ไร่)                    325,538             24.55       285,069         21.50

                   สูงมาก (>16 ตัน/ไร่)                   183,553             13.84       179,981         13.57

                   พื้นที่อุทยานแห่งชาติ                  357,747             26.97       357,747         26.97

                                 รวม                   1,326,250           100.00     1,326,250        100.00

                                  2) การเปลี่ยนแปลงการกักเก็บอินทรีย์คาร์บอนในดิน ช่วงปี 2552 – 2564


                                    เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงตามระดับปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินทั้ง 6
                  ชั้น ในช่วง ปี พ.ศ. 2552 และปี พ.ศ. 2564  จะเห็นว่า ในปี พ.ศ. 2564 ดินมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน
                  เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้นและลดลงแตกต่างกัน โดยพื้นที่มีปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนคงที่ มีเนื้อ

                  ที่ประมาณ 380,023 ไร่ พื้นที่มีปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินลดลง มีเนื้อที่ประมาณ 274,756 ไร่
                  และมีปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดินเพิ่มขึ้น มีเนื้อที่ประมาณ 313,724 ไร่
                                    พื้นที่ที่มีปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนลดงลงจากปี พ.ศ. 2552 พบว่า ปริมาณการ

                  สะสมอินทรีย์คาร์บอนลดลงจากระดับปานกลาง (5-8 ตันต่อไร่ต่อปี) ไปอยู่ในระดับต่ำ (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) และ
                  ต่ำมาก (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 31,413 ไร่ ปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนลดลงจากระดับ
                  ค่อนข้างสูง (8-12 ตันต่อไร่ต่อปี) ไปอยู่ในระดับต่ำ (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 4,258 ไร่ ปริมาณการ

                  สะสมอินทรีย์คาร์บอนลดลงจากระดับสูง (12-16 ตันต่อไร่ต่อปี) ไปอยู่ระดับต่ำ (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่
                  ประมาณ 2,168 ไร่ และปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนลดลงจากระดับสูงมาก (>16 ตันต่อไร่ต่อปี) ไปอยู่

                  ระดับต่ำ (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) และต่ำมาก (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 969 ไร่
                                    สำหรับพื้นที่ที่มีปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2552 พบว่า
                  ปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำมาก (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) ไปอยู่ในระดับปานกลาง

                  (5-8 ตันต่อไร่ต่อปี) ค่อนข้างสูง (8-12 ตันต่อไร่ต่อปี) และระดับสูง (12-16 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ
                  464 ไร่ ปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำ (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) ไปอยู่ในระดับปานกลาง

                  (5-8 ตันต่อไร่ต่อปี) ค่อนข้างสูง (12-16 ตันต่อไร่ต่อปี) และระดับสูง (12-16 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ
                  96,175 ไร่ และเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับสูงมาก (>16 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่ประมาณ 1,316 ไร่ และปริมาณการ
                  สะสมอินทรีย์คาร์บอนเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง (5-8 ตันต่อไร่ต่อปี) ไปอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (8-16 ตันต่อไร่
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63