Page 11 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                6







                         2.1 ยางพารา

                              ยางพาราพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดตรัง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ
                       มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online
                       สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)

                               1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื นที่ปลูกยางพารา
                                 ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 706,622 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 38.80

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด 169,486 ไร่ อ าเภอวังวิเศษ 132,884 ไร่
                       และอ าเภอปะเหลียน 79,270 ไร่
                                 ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 549,941 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       30.19 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอปะเหลียน 101,363 ไร่ อ าเภอวังวิเศษ

                       86,706 ไร่ และอ าเภอย่านตาขาว 76,685 ไร่
                                 ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 262,150 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       14.39 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด 55,717 ไร่ อ าเภอเมืองตรัง 52,217 ไร่
                       และอ าเภอปะเหลียน 31,409 ไร่

                                 ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 302,613 ไร่
                               2) การวิเคราะห์พื นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจ าแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้

                                (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 499,873 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 70.74 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด 123,328 ไร่ อ าเภอวังวิเศษ 90,307 ไร่ และอ าเภอปะเหลียน
                       62,453 ไร่
                                (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 403,554 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 73.38 ของพื้นที่

                       ศักยภาพปานกลาง กระจายอยู่ในอ าเภอปะเหลียน 84,017 ไร่ อ าเภอย่านตาขาว 59,861 ไร่ และ
                       อ าเภอวังวิเศษ 59,593 ไร่
                                (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 220,976 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 84.29 ของพื้นที่

                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายอยู่ในอ าเภอห้วยยอด 46,679 ไร่ อ าเภอเมืองตรัง 45,025 ไร่ และอ าเภอ
                       ปะเหลียน 27,975 ไร่
                                   (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 75,954 ไร่
                              3) พื นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ยังไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับการปลูกยางพารา และพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้นความ

                       เหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดตรังมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                       และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 353,136 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอ าเภอ โดยอ าเภอที่มี
                       พื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อ าเภอวังวิเศษ 69,690 ไร่ อ าเภอห้วยยอด 62,156 ไร่ อ าเภอสิเกา

                       59,214 ไร่ และอ าเภอปะเหลียน 34,163 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16