Page 6 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                1







                       1. ข้อมูลทั่วไป
                         จังหวัดตรังมีพื้นที่ 4,917.519 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,073,449 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
                       ประกอบด้วย 10 อ าเภอ 89 ต าบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจ านวนประชากร 640,574 คน

                       (กรมการปกครอง, 2563)
                         1.1  อาณาเขตติดต่อ
                             ทิศเหนือ      ติดต่อ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่
                             ทิศใต้       ติดต่อ จังหวัดสตูล และทะเลอันดามัน

                             ทิศตะวันออก   ติดต่อ จังหวัดพัทลุง
                             ทิศตะวันตก    ติดต่อ จังหวัดกระบี่ และทะเลอันดามัน
                         1.2  ภูมิประเทศ
                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดตรังโดยทั่วไปเป็นเนินสูง ๆ ต่ า ๆ สลับด้วยภูเขาใหญ่เล็ก

                       กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ราบเรียบมีจ านวนน้อย ประกอบด้วยลักษณะดังนี้
                             1) เขตลอนลูกฟูกหินปูน พื้นที่เขตลอนลูกฟูกเป็นที่ราบสลับเนิน เป็นพื้นที่ถัดมาทางด้าน
                       ทิศตะวันตกขนานกับเขตภูเขาและเชิงเขา บางแห่งมีภูเขาหินปูนโดดหรือกลุ่มภูเขาหินปูน นอกจากนี้

                       ยังมีที่ลุ่มเป็นหนองน้ าซึ่งเกิดจากหลุมยุบและหลุมจม (sinkhole and doline)
                             2) เขตที่ราบลุ่มแม่น  าตรัง-ปะเหลียน เป็นบริเวณสองข้างฝั่งแม่น้ าตรังและแม่น้ าปะเหลียน
                       เป็นที่ราบอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดตรัง พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณนี้
                       เป็นที่ราบภาษาท้องถิ่นเรียกว่า ทุ่ง บางครั้งเรียกว่า นา เนื่องจากส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
                       บริเวณนี้ส าหรับท านา

                             3) เขตชายฝั่งทะเลและเกาะ ชายฝั่งทะเลจังหวัดตรังมีลักษณะที่หลากหลาย บางแห่งเป็น
                       สันทรายหรือหาดทรายขนานกับชายฝั่ง เช่น ทางตอนเหนือของอ าเภอสิเกา ชายฝั่งบางแห่งเป็นโคลนตม
                       ที่เกิดจากแม่น้ าตรังและล าธารสายสั้น ๆ พัดพามา บางแห่งเป็นชะวากทะเล ซึ่งตื้นเขิน เป็นป่าเสม็ด

                       และป่าโกงกาง เช่น บ้านฉางหลาง อ าเภอสิเกา บางแห่งเป็นที่ราบเกิดจากการตื้นเขินของทะเล เช่น
                       ทุ่งหวัง (บริเวณท่าอากาศยานตรัง) ทุ่งค่าย ทุ่งยาว ในทะเลมีเกาะเล็กเกาะน้อยหลายแห่งที่มีศักยภาพ
                       ในด้านการท่องเที่ยว เกาะขนาดใหญ่ที่ส าคัญมี 3 เกาะ ได้แก่ เกาะมุก เกาะลิบง และเกาะหมูหรือ
                       เกาะสุกร

                         1.3  ภูมิอากาศ
                             สภาพภูมิอากาศของจังหวัดตรังแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์
                       ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะอากาศทั่วไป
                       อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจ าเป็นฤดูกาล 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

                       ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือช่วงกลางเดือนตุลาคม
                       ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยปีละ 2,176.2 มิลลิเมตร
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11