Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตรัง
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3







                               4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
                       ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก
                       ในระยะทางใกล้ ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหินปะปน
                       ในหน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้

                                  (1) พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทราย
                       ปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ าตาล และน้ าตาลปนแดง การระบายน้ าดีถึงมากเกินไป
                       พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินพะโต๊ะ (Pto)
                                  (2) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อละเอียดหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็น

                       หินดินดานและหินฟิลไลต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ าตาล น้ าตาลปนแดง และน้ าตาลปนเหลือง การระบายน้ าดี
                       พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินนาทอน (Ntn) ชุดดินคลองเต็ง (Klt) เป็นต้น
                                  (3) พัฒนาจากหินอัคนีชนิดหินแกรนิต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก

                       เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ าตาล น้ าตาลปนแดง ถึงแดง การระบายน้ าดี
                       อาทิ ชุดดินควนกาหลง (Kkl)
                             5) พื นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดิน

                       มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
                             ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดตรัง ในภาพที่ 1 – 5
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13