Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพังงา
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
เมล็ดภายในส่วนใหญ่เป็นเมล็ดลีบและมีขนาดเล็กเกือบทั้งหมด รสชาติหวานมัน และมีความหวาน
มากกว่าทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ เนื้อทุเรียนมีสีเหลืองทอง เส้นใยละเอียด เนื้อแน่น มีกลิ่นหอม
แต่กลิ่นไม่ฉุน
3.2 ข้าวไร่ดอกข่าพังงา พืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จาก
กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี 2557 ข้าวดอกข่า หรือข้าวไร่ดอกข่า เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองคุณภาพดี
ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพังงา เกษตรกรนิยมปลูก เป็นพันธุ์ดั้งเดิมสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ลักษณะเด่น คือ ต้านทานต่อโรค เมล็ดยาว เมล็ดข้าวสารสีน้ำตาลแดงอมม่วง สามารถปลูกในไร่
และบริเวณที่สูงตามไหล่เขาที่ไม่มีน้ำขัง อาศัยเพียงแค่น้ำค้าง น้ำฝน และความชื้นในดินก็ทำให้
เจริญเติบโตได้ ลักษณะทั่วไปเป็นข้าวไร่ข้าวเจ้าที่ไวต่อช่วงแสง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 332-400 กิโลกรัมต่อไร่
นิยมปลูกที่ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง และตำบลตากแดด อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม เมื่อนำมาหุงสุกแล้วจะขึ้นหม้อ มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย
ข้าวไม่แข็ง
3.3 มะพร้าวอ่อน พื้นที่ปลูกมะพร้าวของจังหวัดพังงาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ติดกับทะเลอันดามัน
เกษตรกรนิยมปลูกมะพร้าวแก่ และมีมะพร้าวอ่อนบ้างเล็กน้อย มะพร้าวส่วนใหญ่จะปลูกโดย
การอาศัยธรรมชาติ (มีการใส่ปุ๋ยน้อยมาก) เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่มีอนาคต สร้างความหวังให้
เกษตรกรชาวอำเภอเกาะยาว คือ มะพร้าวอ่อนพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ส่งเสริมบางส่วน ผลผลิต
เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม (ทั้งปี) เนื่องจากเกาะยาวเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้รับ
ความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
3.4 สะตอ จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีผลผลิตสะตอออกสู่ตลาดมากเป็นอันดับต้น ๆ ของภาคใต้
ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกสะตอรวมอยู่กับไม้ผลชนิดอื่น ซึ่งผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดช่วงปลาย
เดือนเมษายนและจะออกมากในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งในช่วงต้นฤดูสามารถ
ขายได้ถึงฝักละ 6-10 บาท ปัจจุบันสะตอถือเป็นพืชผักที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ได้แก่
คาร์โบไฮเดรต ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี
3 วิตามินซี ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งมีประโยชน์กับร่างกาย มีส่วนช่วย
บำรุงสายตา ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ช่วยลดความดันโลหิต ทำให้
เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยกระตุ้นการ
บีบตัวของลำไส้ ช่วยในการขับปัสสาวะ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย อีกทั้งยังช่วยในการขับถ่ายได้ดีขึ้น
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
3.5 ขมิ้นชัน เป็นพืชวงศ์ขิงที่ใช้เพื่อเป็นทั้งเครื่องเทศ และพืชสมุนไพร ที่คนไทยรู้จักกันมา
แต่โบราณ จัดเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในวงศ์ขิงข่า มีอายุหลายปี ลำต้นเหนือดินเป็นลำต้นที่เกิดจากการอัดตัวกัน
ของกาบใบ ลำต้นจริงอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ขมิ้นประกอบด้วยเหง้าหลักใต้ดินที่เรียกว่า หัวแม่
ซึ่งมีรูปไข่และแตกแขนงทรงกระบอกออกด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า แง่ง เนื้อในเหง้ามีสีเหลือง
มีกลิ่นเฉพาะ ใช้รับประทานสด เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง โดยนำมาใช้แต่งสี แต่งกลิ่น และรสของอาหาร
เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา เป็นต้น ขมิ้นอาจนำมาแปรรูปด้วยการทำแห้ง แล้วบดเป็นผง
ใช้เป็นเครื่องเทศ และใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร สารสำคัญที่พบในรากและเหง้ามีน้ำมันหอม
สรรพคุณใช้เป็นยาภายใน คือ แก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง แก้โรคกระเพาะอาหาร