Page 26 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพังงา
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ตารางที่ 10 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตเงาะ
ยางพารา (ไร่) ปาล์มน้ำมัน (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เกาะยาว 3 - 3 93 - 93
ตะกั่วทุ่ง 6,908 - 6,908 812 - 812
คุระบุรี - - - - - -
เมืองพังงา - - - 451 - 451
ท้ายเหมือง - - - - - -
ตะกั่วป่า - - - - - -
กะปง - - - - - -
ทับปุด - - - 58 - 58
รวม 6,911 - 6,911 1,414 - 1,414
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกเงาะต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกเงาะในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้
เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกเงาะในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกเงาะในที่ดินที่ไม่มี
ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกเงาะ ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกเงาะที่สำคัญของจังหวัด
โดยอยู่ในอำเภอทับปุด
พื้นที่ปลูกเงาะในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกเงาะในที่ดิน
ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกเงาะ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด
เป็นด่าง ความชื้น โดยอยู่ในอำเภอทับปุด อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอเกาะยาว เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกเงาะ
มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
3.1 ทุเรียนสาลิกา เป็นผลไม้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จาก
กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี 2557 ทุเรียนสาลิกา เป็นทุเรียนพื้นเมืองมีถิ่นกำเนิดที่อำเภอกะปง
จังหวัดพังงา คำว่า สาลิกา มีที่มาจากนกสายพันธ์ุหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า นกสาลิกา อีกทั้งอำเภอกะปง
เป็นแหล่งแร่และเป็นแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ ทำให้ดินภายในพื้นที่อำเภอกะปงประกอบไปด้วย
สารอาหารที่เหมาะแก่การปลูกทุเรียนสาลิกา ที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีที่สุด และมีเอกลักษณ์เฉพาะ
แตกต่างจากทุเรียนสายพันธ์ุอื่น ๆ ผลค่อนข้างกลม สามารถตั้งได้โดยไม่ล้ม ความยาวผลประมาณ 30
เซนติเมตร รวมขั้วผล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร น้ำหนักต่อผลโดยเฉลี่ยประมาณ
1.5-2.5 กิโลกรัม เปลือกผลบาง มีหนามสั้นและค่อนข้างถี่ และมีสีน้ำตาลอ่อนบริเวณร่องพู (สีสนิม)