Page 16 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปัตตานี
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา
มะพร้าว ข้าว
อ าเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
กะพ้อ - 4 4 1,051 1 1,052
โคกโพธิ์ 4 - 4 3,266 33 3,299
ทุ่งยางแดง - 1 1 693 2 695
ปะนาเระ 5,567 11 5,578 855 1,460 2,315
มายอ 22 - 22 2,066 161 2,227
เมืองปัตตานี 604 - 604 - 1,138 1,138
แม่ลาน - - - 579 6 585
ไม้แก่น 2,025 - 2,025 109 66 175
ยะรัง - 0 - 290 2 292
ยะหริ่ง 4,701 0 4,701 - 1,453 1,453
สายบุรี 4,671 7 4,678 1,164 362 1,526
หนองจิก 7,080 - 7,080 147 439 586
รวม 24,674 23 24,697 10,220 5,123 15,343
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี
คุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการที่ส าคัญต่าง ๆ ได้
เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกยางพาราในที่ดิน
ที่ไม่มีข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส าคัญของ
จังหวัด โดยกระจายอยู่ในอ าเภอยะรัง อ าเภอสายบุรี อ าเภอทุ่งยางแดง เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกยางพารา
ในที่ดินที่มีข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ า โดยกระจายอยู่ในอ าเภอโคกโพธิ์ อ าเภอมายอ อ าเภอยะรัง เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ท าการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้
ผลตอบแทนสูงกว่า โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย