Page 24 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 24
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
19
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกมะพร้าวต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และได้ผลผลิตที่มี
คุณภาพดี ซึ่งการปลูกมะพร้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้
เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกมะพร้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกมะพร้าวในที่ดิน
ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมะพร้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญ
ของจังหวัด กระจายอยู่ในอำเภอท่าแซะ อำเภอหลังสวน และอำเภอเมืองชุมพร เป็นต้น
พื้นที่ปลูกมะพร้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกมะพร้าวในที่ดิน
ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมะพร้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด
เป็นด่างและแหล่งน้ำ กระจายอยู่ในอำเภอปะทิว อำเภอสวี และอำเภอหลังสวน เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) โดยกระจายอยู่ใน
อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และอำเภอสวี เป็นต้น ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต
เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกมะพร้าว มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
3.1 ข้าว ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) คือข้าวเหลืองปะทิวชุมพร (Khao
Leuang Patew Chumphon) คือ ข้าวเจ้าพันธุ์เหลืองปะทิว 123 เป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์หนัก ไวต่อ
ช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีตามระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร เป็นข้าวพื้นแข็ง
เมื่อหุงสุกจะร่วนเป็นตัว ไม่เกาะกันเป็นก้อน และหุงขึ้นหม้อ เมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นจะได้เส้นที่
เหนียวไม่ยุ่ยหรือขาดง่าย สามารถปลูกได้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวและดินเค็มกร่อยบริเวณใกล้ทะเล ในอำเภอปะทิว
และอำเภอท่าแซะ จึงยังคงมีพื้นที่ปลูกข้าวเหลืองปะทิว ได้รับการยอมรับและถูกนำไปปลูกขยายใน
พื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ข้าวเหลืองปะทิวจึงเป็นข้าวที่เกิดจากมรดกธรรมชาติของจังหวัดชุมพรที่มี
การผลิตสืบทอดมากันชั่วลูกหลาน ปัจจุบันข้าวชุมพรมีผลผลิตข้าวเหลืองปะทิวชุมพร สร้างรายได้
หมุนเวียนเข้าสู่ท้องถิ่น
3.2 กาแฟ (Coffea robusta Pierre ex Froehner L.) ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทาง
ภูมิศาสตร์ (GI) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดชุมพร คือ กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า เพราะมีสภาพ
อากาศที่ร้อนชื้นและฝนตกชุก มีอุณหภูมิระหว่าง 25 - 34 องศาเซลเซียส จึงเป็นพื้นที่เพาะปลูก
ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกกาแฟโรบัสต้า ผลผลิตกาแฟโรบัสต้า มีผลผลิตประมาณ 90 - 92% ต่อปี
มากกว่ากาแฟอาราบิก้าหลายเท่า เพราะมีพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมอยู่มาก จึงทำให้มีผลผลิตกาแฟ
โรบัสต้าจำนวนมาก และ มีมากเกินกว่าความต้องการบริโภคของนักดื่มกาแฟในประเทศ ที่ต้องการ
บริโภคกาแฟอาราบิก้ามากกว่า รสชาติของกาแฟ มีความโดดเด่นในเรื่องของรสชาติขมเข้ม หนักแน่น
และมีกลิ่นหอมออกสาป ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกาแฟโรบัสต้า ซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตกาแฟ
แบบแห้ง จากคุณสมบัติด้วยสายพันธุ์ของกาแฟลักษณะที่สอดคล้องกันของภูมิประเทศและปัจจัยอื่น ๆ
ของจังหวัดชุมพรจึงทำให้ในแต่ละปีมีจำนวนของผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก เกษตรกรได้
รวมกลุ่มกันผลิตเช่น บริษัท ชินวัตรคอฟฟี่ จำกัด (ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน) เป็นแหล่งผลิตกาแฟขี้ชะมด