Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23







                             2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพารา
                       อยู่ มีเนื้อที่ 274,002 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอปะทิว อำเภอละแม และอำเภอท่าแซะ เกษตรกร
                       ยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน การสนับสนุนอินทรียวัตถุ

                       จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความ
                       เหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่

                             3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม เป็น

                       การสร้างรายได้ และผลิตอาหารเพื่อบริโภค
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่า เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มะพร้าว มังคุด

                       เป็นต้น ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะ
                       ยางพาราเป็นพืชที่มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ำ แต่ใน

                       อนาคตหากตลาดมีความต้องการผลผลิตเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกรกลับมาปลูก
                       ยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว

                         4.3  ทุเรียน
                             1) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่

                       92,779 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอท่าแซะ อำเภอสวี และอำเภอเมืองชุมพร ตามลำดับ ทั้งนี้โดย
                       คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูก
                       ทุเรียนที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตามมาตรฐาน

                       ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่
                       สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่การผลิต

                       ผลไม้ครบวงจร เช่น บริหารจัดการผลผลิตแบบป้องกันความเสี่ยงโดยใช้การตลาดนำการผลิต
                       เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       (Good Agricultural Practices : GAP) เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนา

                       คุณภาพทุเรียนทั้งในและนอกฤดู ให้สอดคล้องตามฤดูกาล การผลิตผลไม้คุณภาพตามแหล่งกำเนิด
                       ภูมิศาสตร์ (GI) และไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัด

                             2) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่
                       40,674 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอท่าแซะ อำเภอสวี และอำเภอทุ่งตะโก เกษตรกรยังคงปลูกทุเรียน

                       ได้ผลดี ควรมีการสนับสนุนอินทรียวัตถุ เนื่องจากเป็นไม้ผล ซึ่งบางช่วงมีความต้องการการใช้น้ำ
                       ในปริมาณที่มาก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอก

                       เขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33