Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               24







                       ผู้ปลูกทุเรียน ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืช
                       ชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า
                             3) พื้นที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง

                       ใช้ที่ดินปลูกทุเรียนอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวง
                       เกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน

                       ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ หาแหล่งเงินทุนประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แนวทางการบริหาร
                       จัดการให้แก่เกษตรกร ในกรณีที่ทุเรียนหมดอายุต้องโค่นทิ้งให้ผลผลิตลดต่ำลง ต้องใช้ทุนเพิ่มมากขึ้น

                       ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้
                       พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning

                       by Agri-Map) เป็นต้น
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูก โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น มะพร้าว มังคุด กาแฟ (โรบัสต้า) สับปะรด

                       เงาะ เป็นต้น ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกทุเรียนได้อีก แต่หากเป็น
                       ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น อาจเป็นเรื่องยาก ต้องรอจนพืชเดิมครบอายุตัดโค่น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณา

                       ต้นทุนการผลิตร่วมด้วย ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์และสร้างมาตรการจูงใจให้เกษตรกรกลับมาปลูก
                       ทุเรียนในพื้นที่นี้หรือทำในรูปแบบสวนผสมระหว่างไม้ผลเขตร้อน เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง เป็นต้น

                       แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะทางการตลาดร่วมด้วย
                         4.4  มะพร้าว

                             1) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       8,042 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ และอำเภอสวี ตามลำดับ ทั้งนี้โดย
                       คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูก

                       มะพร้าวคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี โดยรวมกลุ่มเป็น
                       เกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน

                       มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       (Good Agricultural Practices : GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง
                             2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่

                       มีเนื้อที่ 62,836 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี และอำเภอหลังสวน เกษตรกร
                       ยังคงปลูกมะพร้าวได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน การสนับสนุนอินทรียวัตถุ

                       จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความ
                       เหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่

                             3) พื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกมะพร้าวอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34