Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               15







                                   ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
                       ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกพืช
                       ตรงตามศักยภาพของดิน การลงทุนต่ำก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว

                                   เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควร
                       พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกทุเรียน คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกปลูกปาล์มน้ำมัน (S3+N)
                       208,140 ไร่ และพื้นที่ปลูกยาพารา (S3) 38,915 ไร่ (ตารางที่ 8)

                       ตารางที่ 8  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตทุเรียน

                                                 ปาล์มน้ำมัน (ไร่)                  ยางพารา (ไร่)
                            อำเภอ
                                           S3        N          รวม             S3      N       รวม
                       สวี               17,405      -           17,406        13,107  -        13,107
                       ละแม               2,604      -            2,604         1,035  -         1,035
                       ปะทิว             92,446     9,542       101,988         5,581  -         5,581
                       ท่าแซะ            62,258      -           62,258        16,412  -        16,412
                       พะโต๊ะ                 -      -                -             -  -             -
                       หลังสวน            7,764      -            7,764            25  -            25
                       ทุ่งตะโก           3,308      -            3,308         1,889  -         1,889
                       เมืองชุมพร        12,812      -           12,812           866  -          866
                             รวม        198,597     9,543       208,140        38,915  -        38,915

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกทุเรียนต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ

                       ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการ
                       ที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกทุเรียนในที่ดินที่
                       ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกทุเรียนซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญของจังหวัด

                       กระจายอยู่ในอำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอหลังสวน เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกทุเรียน
                       ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกทุเรียน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น กระจายอยู่ในอำเภอท่าแซะ อำเภอสวี และอำเภอปะทิว เป็นต้น

                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) โดยกระจายอยู่ใน
                       อำเภอพะโต๊ะ อำเภอหลังสวน และอำเภอสวี เป็นต้น ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหารจัดการ
                       พื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกทุเรียน มีต้นทุนที่ต่ำ และ
                       ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                           2.4  มะพร้าว
                                  มะพร้าวพืชเศรษฐกิจหลักของชุมพรในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 - 13)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25