Page 16 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                9








                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี

                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่างๆ
                       ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราในที่ดิน
                       ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญของ
                       จังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ และอำเภอเมืองระยอง ตามลำดับ
                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก

                       ยางพาราในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์
                       ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายตัวมากในอำเภอบ้านค่าย อำเภอปลวกแดง

                       และอำเภอแกลง
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้

                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
                       โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         2.2  มันสำปะหลัง

                             มันสำปะหลังพืชเศรษฐกิจหลักของระยองในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 10 - 11)

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูก
                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 226,574 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.79
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง 55,828 ไร่ อำเภอเมืองระยอง 51,813 ไร่ และ
                       อำเภอบ้านค่าย 51,468 ไร่
                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 663,957 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                       34.55 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอปลวกแดง 208,064 ไร่ อำเภอ
                       นิคมพัฒนา 131,066 ไร่ และอำเภอเมืองระยอง 115,561 ไร่
                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 486,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       25.34 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง 204,726 ไร่ อำเภอวังจันทร์

                       105,997 ไร่ และอำเภอเมืองระยอง 97,056 ไร่
                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 544,323 ไร่

                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของ
                       ที่ดิน ได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 8,555 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.78 ของพื้นที่ศักยภาพสูง

                       กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบ้านฉาง 2,801 ไร่ อำเภอเมืองระยอง 2,464 ไร่ และอำเภอปลวกแดง 1,150 ไร่
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21