Page 24 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 24
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
2.3 มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรีในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลใน
แผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 251,163 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.59
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอสองพี่น้อง 166,264 ไร่ อำเภออู่ทอง 46,264 ไร่
และอำเภอด่านช้าง 18,371 ไร่ ตามลำดับ
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 508,445 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 17.39 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 158,952 ไร่ อำเภอ
เดิมบางนางบวช 95,035 ไร่ และอำเภออู่ทอง 94,611 ไร่ ตามลำดับ
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 126,464 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
4.33 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 81,173 ไร่ อำเภออู่ทอง 40,020 ไร่
และอำเภอเดิมบางนางบวช 2,796 ไร่ ตามลำดับ
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 2,037,212 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.69 ของ
พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสม
ของที่ดินได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,736 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 1,731 ไร่ และอำเภออู่ทอง 5 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 15,111 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.97 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเดิมบางนางบวช 6,472 ไร่ อำเภอด่านช้าง 5,827 ไร่
และอำเภออู่ทอง 1,845 ไร่ ตามลำดับ
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 12,395 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.80 ของพื้นที่
ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 9,232 ไร่ อำเภอดอนเจดีย์ 1,566 ไร่ และอำเภอ
หนองหญ้าไซ 802 ไร่ ตามลำดับ
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,311 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ศักยภาพไม่
เหมาะสม
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมันสำปะหลังแต่ยังไม่ใช้
พื้นที่ปลูก พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง และพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
ในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความ
เหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 742,761 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ