Page 19 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
2.2 อ้อยโรงงาน
อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรีในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลใน
แผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 313,906 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
10.74 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอสองพี่น้อง 174,938 ไร่ อำเภออู่ทอง
56,987 ไร่ และอำเภอสามชุก 26,321 ไร่ ตามลำดับ
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 129,165 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 4.42 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 91,935 ไร่ อำเภอ
หนองหญ้าไซ 18,598 ไร่ และอำเภออู่ทอง 10,858 ไร่ ตามลำดับ
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 617,628 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
21.13 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 171,892 ไร่ อำเภอ
หนองหญ้าไซ 130,504 ไร่ และอำเภออู่ทอง 128,526 ไร่ ตามลำดับ
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,862,047 ไร่ ไร่ คิดเป็นร้อยละ 63.71
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของ
ที่ดินได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 184,747 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.85 ของพื้นที่
ศักยภาพสูง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอสองพี่น้อง 134,921 ไร่ อำเภออู่ทอง 36,887 ไร่ และอำเภอ
เดิมบางนางบวช 3,269 ไร่ ตามลำดับ
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 87,196 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 67.51 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 65,436 ไร่ อำเภอหนองหญ้าไซ 15,841 ไร่
และอำเภอเดิมบางนางบวช 4,472 ไร่ ตามลำดับ
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 441,091 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 71.42 ของพื้นที่
ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอด่านช้าง 123,224 ไร่ อำเภอหนองหญ้าไซ 110,869 ไร่
และอำเภออู่ทอง 78,530 ไร่ ตามลำดับ
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกอ้อยโรงงาน มีเนื้อที่ 4,549 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
0.24 ของพื้นที่ศักยภาพไม่เหมาะสม
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกอ้อยโรงงานแต่ยังไม่ใช้
พื้นที่ปลูก พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน และพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานใน
ชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความ