Page 21 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรสาคร
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14
แบบแปลงใหญ่ สนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพของที่ดินให้มีความเหมาะสม
ต่อการปลูกมะพร้าวมากยิ่งขึ้น สนับสนุนมะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคแมลง ให้ความรู้ในการกำจัดโรค
แมลงศัตรูมะพร้าว ที่เหมาะสม สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในพื้นที่ และเชื่อมโยง
การตลาด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวสำรอง ที่สามารถรองรับผลผลิตทางการเกษตรในช่วงที่
ผลผลิตล้นตลาด หรือเกินกำลังผลิตของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ใกล้เคียง พัฒนาสถาบันเกษตรกร
ให้เข้มแข็ง และเป็น Smart Farmer โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา
เป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
3) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้
ที่ดินปลูกมะพร้าวอยู่ ซึ่งมีเนื้อที่ 1,278 ไร่ ทั้งนี้ควรมีการให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิด
พืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ ต่าง ๆ เช่น Zoning by
Agri-Map เป็นต้น พร้อมทั้งจัดระบบการผลิตและการบริหารจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย ที่เหมาะสมสำหรับ
มะพร้าว การสนับสนุนแหล่งน้ำ และการส่งเสริมให้ความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และการทำเกษตร
ผสมผสาน
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมะพร้าว คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 8 ไร่ อยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว
ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึงเป็นเรื่องยาก ควรส่งเสริมสินค้าเกษตร
ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความเหมาะสม ในกรณีที่ปาล์มน้ำมัน
หมดอายุ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม ลงทุนน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนที่ดี
4.2 ข้าว
1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 6,170 ไร่
มีพื้นที่ปลูกมากในกระจายอยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอเมืองสมุทรสาคร
ตามลำดับ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวน
ให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย
พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้านการตลาดในและ
ต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ
GAP และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และ
เป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้
เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดี
ถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก