Page 19 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรสาคร
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
พื้นที่ปลูกมันลำไยในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกลำไยในที่ดิน
ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกลำไยซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของจังหวัด
โดยกระจายอยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว อำเภอเมืองสมุทรสาคร และกระทุ่มแบน
3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
3.1 มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว เป็นมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ต้นเตี้ย ผลกลมรีเหมือนหัวลิง ก้นมีจีบ
เป็นพู 3 พูชัดเจน เปลือกสีเขียว เนื้อมะพร้าวเหนียวนุ่ม น้ำมะพร้าวมีรสหวาน มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย
ปลูกครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านแพ้ว อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอเมืองสมุทรสาคร
ซึ่งจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ทำให้ได้รับอิทธิพลด้านความชื้นในบรรยากาศ
ที่สม่ำเสมอ น้ำทะเลมีธาตุอาหารหลายชนิดที่มะพร้าวต้องการ ประกอบกับดินที่ใช้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม
บ้านแพ้ว เป็นดินเหนียวที่มีอนุมูลของโพแทสเซียม ซึ่งมีความจำเป็นกับมะพร้าวในการสร้างน้ำตาล
และไขมัน ทำให้น้ำและเนื้อมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้วมีรสชาติหวานหอม
3.2 ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว เป็นลำไยพันธุ์พวงทอง มีผิวเปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อน ผลค่อนข้าง
เบี้ยวเมล็ดขนาดเล็ก เนื้อหนา แห้ง ไม่แฉะ เนื้อใสจนเห็นเมล็ด มีรสชาติกรอบหวาน ปลูกในเขต
อำเภอบ้านแพ้วและอำเภอกระทุ่มแบน ซึ่งลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดสมุทรสาคร อยู่ภายใต้
อิทธิพลของมรสุมซึ่งพัดเป็นประจำ ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะพัดจากทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว อิทธิพลของลมทำให้บริเวณจังหวัดสมุทรสาครมีอากาศหนาวเย็น
และแห้งแล้งในฤดูหนาว กับลมมรสุมอีกชนิดคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
เป็นส่วนใหญ่ในฤดูฝน ทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกทั่วไป เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูก
ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว เนื่องจากในฤดูหนาวมีปริมาณน้ำฝนน้อยและอุณหภูมิต่ำ 10 - 20 องศาเซลเซียส
เหมาะสมกับการออกดอกของลำไย ซึ่งต้องการน้ำน้อยและอากาศหนาวเย็นในช่วงก่อนออกดอก
โดยเฉพาะถ้าปีใดอากาศหนาวเย็นนาน ลำไยพวงทองบ้านแพ้วจะออกดอกติดผลมาก นอกจากนี้ยังมีพืช
ทางเลือกชนิดอื่น ได้แก่ ฝรั่ง มะม่วง กล้วยน้ำหว้า และไม้ดอกไม้ประดับ
3.3 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่ง
ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564
โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย
ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดํารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map
Online จังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพร ได้แก่ บัวบก
และขมิ้นชัน