Page 16 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรสาคร
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                9








                                   เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่าพื้นที่ที่ควร
                       ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าว คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าว (N) จำนวน 25 ไร่

                       แต่เนื่องจากนโยบายของคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าวต้องการรักษาดุลยภาพผลผลิตข้าว
                       ดังนั้น จึงควรพิจารณาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (ตารางที่ 6)



                       ตารางที่ 6 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าว

                                                                       มะพร้าว (ไร่)
                                อำเภอ
                                                        S3                  N                 รวม

                               บ้านแพ้ว                -                  25                  25
                                 รวม                   -                  25                  25

                               4) แนวทางการจัดการ

                                  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

                       ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตร

                       อินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี

                       ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจาย

                       อยู่ในอำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอกระทุ่มแบน

                            2.3  ลำไย

                                  ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสมุทรสาครในลำดับที่ 3 และจังหวัดสมุทรสาคร
                       ยังเป็นแหล่งปลูกลำไยที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว ซึ่งจากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก

                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 พื้นที่ ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 9 ถึง 10)

                               1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกลำไย โดยชั้นความเหมาะสมสำหรับที่ดิน ในระบบ
                       Agri-MapOnline จะพิจารณาจากปัจจัยทางดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยไม่คำนึงถึงชนิดพืช

                       ที่ปลูกอยู่ในปัจจุบัน พบว่าจังหวัดสุมทรสาครมีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกลำไย ดังนี้

                                     ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 282,923 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.23

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว 161,589 ไร่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร
                       65,359 ไร่ และอำเภอกระทุ่มแบน 55,975 ไร่ ตามลำดับ

                                     ระดับที่ 4 พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 258,727 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.77 ของพื้นที่

                       ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอเมืองสมุทรสาคร 222,403 ไร่ อำเภอกระทุ่มแบน 25,414 ไร่
                       และอำเภอบ้านแพ้ว 10,910 ไร่ ตามลำดับ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21