Page 22 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรสาคร
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               15








                               2) พื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้
                       ที่ดินปลูกข้าวอยู่ ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม โดย

                       สนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่

                       ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือ

                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                               3) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 25 ไร่ อยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งการ

                       ปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น

                       เช่น ทำการเกษตรแบบผสมผสานทดแทน


                         4.3  ลำไย
                               1) พื้นที่ปลูกลำไยที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกลำไยอยู่ มีเนื้อที่ 3,214 ไร่

                       โดยกระจายอยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอเมืองสมุทรสาคร ตามลำดับ ทั้งนี้

                       โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่

                       ปลูกลำไยที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตามมาตรฐาน

                       ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นการเกษตรแปลงใหญ่

                       สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชน กับโรงงานแปรรูปลำไย

                       หรือพ่อค้าที่รับซื้อลำไยเพื่อการส่งออก ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสู่การผลิตผลไม้ครบวงจร เช่น บริหารจัดการ
                       ผลผลิตแบบป้องกันความเสี่ยงโดยใช้การตลาดนำการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนา

                       ให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้และ

                       เทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพลำไยทั้งในและนอกฤดู ให้สอดคล้องตามฤดูกาล การผลิตผลไม้คุณภาพ

                       ตามแหล่งกำเนิดภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) และไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัด

                               2) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกลำไย แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกลำไย คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 8 ไร่ อยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว

                       ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึงเป็นเรื่องยาก ควรส่งเสริมสินค้าเกษตร

                       ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความเหมาะสม ในกรณีที่ปาล์มน้ำมัน

                       หมดอายุ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม ลงทุนน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนที่ดี
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27