Page 14 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนนทบุรี
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าว
มะพร้าว (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม
บางใหญ่ - 24 24
ไทรน้อย - 198 198
ปากเกร็ด - 56 56
บางบัวทอง - - -
รวม - 278 278
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตร
อินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัด
โดยกระจายตัวอยู่ในอำเภอไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง และอำเภอบางใหญ่
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่มี
ข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
และแหล่งน้ำ โดยกระจายตัวอยู่ในอำเภอไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง และอำเภอบางใหญ่
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.2 มะพร้าว
มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจรองจากข้าวในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 5 - 6)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมะพร้าว พบพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปาน
กลาง (S2) และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีรายละเอียดดังนี้
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 69,677 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
100 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอบางใหญ่ 23,812 ไร่ อำเภอบางกรวย 17,396 ไร่
และอำเภอเมืองนนทบุรี 12,903 ไร่