Page 11 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนนทบุรี
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 2 ลำดับแรกของ จังหวัดนนทบุรี
พืชเศรษฐกิจ เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
1. ข้าว 107,029 62.55
2. มะพร้าว 379 0.22
ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
2.1 ข้าว
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนนทบุรี สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม
มีความเหมาะสมในการปลูกข้าว จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online
วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 1 - 2)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าว
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 115,565 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.10 ของ
พื้นที่ศักยภาพที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอไทรน้อย 66,039 ไร่ อำเภอบางบัวทอง 22,450 ไร่ และ
อำเภอบางใหญ่ 17,664 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 109,869 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
27.67 ของพื้นที่ศักยภาพที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอไทรน้อย 49,060 ไร่ อำเภอบางบัวทอง
34,826 ไร่ และอำเภอบางใหญ่ 15,154 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 171,674 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.23 ของพื้นที่
ศักยภาพที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอปากเกร็ด 46,118 ไร่ อำเภอเมืองนนทบุรี 46,006 ไร่ และอำเภอบาง
กรวย 26,508 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวในปัจจุบัน พื้นที่ปลูกข้าวในปัจจุบันจำแนกตามชั้นความ
เหมาะสมต่างๆ โดยจังหวัดนนทบุรี มีพื้นที่ปลูกข้าวในมีเพียงพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) เท่านั้น โดยมี
เนื้อที่ 107,029 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ศักยภาพสูง กระจายตัวอยู่ในอำเภอไทรน้อย
66,039 ไร่ อำเภอบางบัวทอง 18,119 ไร่ และอำเภอบางใหญ่ 17,456 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวแต่ยังไม่ใช้พื้นที่ปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกข้าว และพื้นที่ปลูกข้าวในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ
(ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดนนทบุรีมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1) โดยกระจาย
ตัวอยู่ใน 5 อำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอบางบัวทอง 4,331 ไร่
รองลงมา ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด 3,756 ไร่ อำเภอบางใหญ่ 208 ไร่ อำเภอบางกรวย 162 ไร่และ
อำเภอเมืองนนทบุรี 79 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้