Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนนทบุรี
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2
ตะกอนน้ำจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือ เป็นแอ่งต่ำมีน้ำขังตลอดปี การระบายน้ำเลวมาก
มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว ที่มีการพัฒนาชั้นดินไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประ
สีน้ำตาลแก่ น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุดดินบางเขน (Bn) ชุดดินเสนา (Se)
และชุดดินบางกอก (Bk)
ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดนนทบุรี ในภาพที่ 1 - 3
1.5 สภาพการใช้ที่ดิน
สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดนนทบุรี จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดินของ
กรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของ จังหวัดนนทบุรี
เนื้อที่
ประเภทการใช้ที่ดิน
ไร่ ร้อยละ
พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 182,219 46.85
พื้นที่เกษตรกรรม 171,097 43.99
พื้นที่นา 114,823 29.52
ไม้ยืนต้น 229 0.05
ไม้ผล 30,536 7.86
พืชสวน 20,710 5.33
ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ 32 0.01
พืชน้ำ 2,463 0.63
สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2,304 0.59
พื้นที่น้ำ 15,076 3.88
พื้นที่เบ็ดเตล็ด 20,547 5.28
รวม 388,939 100.00
ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน, 2562
1.6 พื้นที่ชลประทาน
จังหวัดนนทบุรีมีเนื้อที่ชลประทาน 218,156 ไร่ (ร้อยละ 54.85 ของพื้นที่จังหวัด) กระจาย
อยู่ใน 6 อำเภอ (ตารางผนวกที่ 2)