Page 42 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกาญจนบุรี
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               35







                         4.4  ยางพารา
                             1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่

                       25,164 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอสังขละบุรี ทั้งนี้โดย

                       ตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ( พ.ศ. 2560 - 2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิต

                       ยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น

                       ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                       และต้านทานโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซม

                       และพืชคลุมดินให้เหมาะสม เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยาง การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ย

                       การตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้นการ

                       พัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง

                       และ ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ

                       และสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่
                             2)  พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่

                       มีเนื้อที่ 28,185 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค  และอำเภอสังขละบุรี  ตามลำดับ

                       ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับ

                       พื้นที่เหมาะสมสูง โดย เฉพาะการปรับปรุงบำรุงดิน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ

                       โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมปานกลาง ให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีการโค่น

                       ยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง
                       พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น

                       ซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ

                             3)  พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน

                       เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน มันสำปะหลัง ยาสูบ แตงโม พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ
                       ทดแทนให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิต

                       พืชผัก บริโภคในครัวเรือน เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)

                       เป็นต้น และจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน

                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่เกษตรกร หันมาปลูก

                       พืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าว

                       ต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47