Page 39 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกาญจนบุรี
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               32







                       อ้อยโรงงานน้ำตาลทราย และอุตสาหกรรม เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง
                       แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบคุณภาพสูง มีการเก็บเกี่ยวผลผลิต

                       โดยการรณรงค์ลดการเผาตอซังเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดปัญหาภาวะโลกร้อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                       คิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรเพื่อลดปัญหาแรงงาน ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม

                       และเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ จัดหาปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร และอบรมให้ความรู้แก่

                       เกษตรกรที่มีการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์
                       ต้านทานโรค และสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่มี

                       ความเหมาะสมสูงในการปลูก

                             2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่

                       มีเนื้อที่ 367,313 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอบ่อพลอย อำเภอด่านมะขามเตี้ย และอำเภอหนองปรือ

                       ควรพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดิน และ การบริหารจัดการน้ำ ให้มี

                       เพียงพอและเหมาะสมต่อการเพาะปลูก สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่
                       การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานน้ำตาล และการ

                       นำของเสียจากโรงงานน้ำตาลไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน

                       ให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชุมชนชาวไร่อ้อย

                             3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก
                       บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                       หรือจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน

                               4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ปัจจุบัน

                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน แต่เกษตรกร หันมาปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว

                       ไม้ผล ไม้ยืนต้น มันสำปะหลัง หรือพืชไร่อื่นๆ ควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหารจัดการ
                       พื้นที่ และการปรับปรุงบำรุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม หากเกษตรกรต้องการกลับมาใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน

                       เหมือนเดิม จะได้ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตสูงในการปรับปรุงบำรุงดิน


                         4.2  มันสำปะหลัง

                             1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลังอยู่

                       มีเนื้อที่ 51,351 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอไทรโยค อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์
                       ตามลำดับ ทั้งนี้ตามมาตรการยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง ปี 2564 - 2567 เน้นให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44