Page 41 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกาญจนบุรี
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               34







                       พื้นที่ทั้ง 13 อำเภอ ตั้งอยู่ในเขตชลประทาน ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัด ควรให้มีการ
                       เสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำ

                       ชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจร

                       ด้านการตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์

                       และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices: GAP) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง

                       การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้
                       ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่

                       ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าใน

                       อนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก

                             2)  พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 26,441

                       ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอบ่อพลอย อำเภอท่าม่วง อำเภอหนองปรือ เป็นต้น และกระจายตัวทุกอำเภอ

                       เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ำ
                       ในบางช่วงของการเพาะปลูก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน จะสร้างความ

                       มั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความ

                       เหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น

                       และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น

                       หากข้าวราคาไม่ดี และต้องการปรับเลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตยังสามารถกลับมาทำนาได้อีก

                             3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
                       ปลูกข้าวอยู่ มีประมาณกว่าล้านไร่ ซึ่งประสบปัญหาซ้ำซากน้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวง

                       เกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน

                       ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และ

                       ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการ

                       พื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้

                       พื้นที่ปลูกข้าว โดยมาปลูกอ้อยโรงงานแทน หากในอนาคตข้าวราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าว

                       ได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น

                       อาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตรแบบผสมผสานทดแทน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46