Page 40 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกาญจนบุรี
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               33







                       มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง (Cassava Mosaic Disease: CMD) ให้เชื้อแป้งสูงและมีผลผลิต
                       เฉลี่ยต่อไร่ไม่ต่ำกว่า 5 ตัน ภายในปี 2567 นั้น ทำให้เน้นมีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มี

                       ศักยภาพสูง แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่า และโรคใบ

                       ด่างมันสำปะหลัง  ส่งเสริมการทำระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ย

                       ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูป

                       มันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด  สร้างความร่วมมือระหว่าง
                       เกษตรกรและโรงงาน เพื่อวางแผนการขุดของเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วง

                       อายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม ใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง ร่วมโครงการ

                       ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart farmer

                             2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมัน

                       สำปะหลังอยู่ มีเนื้อที่ 460,804 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอเลาขวัญ อำเภอห้วยกระเจา และ

                       อำเภอบ่อพลอย ตามลำดับ ควรพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดิน และ
                       ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งอาจต้อง

                       ใช้ปุ๋ยส่งตัด สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา การ

                       ป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรค และให้ผลผลิต

                       สูง พัฒนาระบบน้ำหยดและการใช้น้ำจากแหล่งน้ำในพื้นที่ ให้มีการใช้ประโยชน์กับมันสำปะหลังให้

                       มากที่สุด ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด

                             3) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ ควรส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจในการไถระเบิด

                       ดินดาน ให้เกษตรกรมีวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ลดต้นทุน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืช

                       ชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการ

                       ปรับเปลี่ยนการผลิต (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น และจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชไร่

                       หรือพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลังแต่เกษตรกร หันมา

                       ปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือพืชไร่อื่น ๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                       ควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหารจัดการพื้นที่ และการปรับปรุงบำรุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม


                         4.3  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที 197,472 ไร่
                       กระจายมากสุดอยู่ในอำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน อำเภอท่าม่วง และกระจายตัวในพื้นที่เล็ก ๆ ใน
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45