Page 48 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               41







                        4.3  ยางพารา
                           1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่
                       96 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอําเภอกระสัง และอําเภอนางรอง ตามลําดับ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการ

                       พัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูกยางพาราคุณภาพดีที่
                       สําคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี ความรู้ด้านการปรับปรุงบํารุงดินที่

                       เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้าง
                       ความเข้มแข็ง พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐ

                       สนับสนุนการทํามาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural
                       Practices: GAP)

                           2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 278,554 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอบ้านกรวด อําเภอละหานทราย และอําเภอแคนดง
                       เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน ส่งเสริมการปรับปรุง

                       บํารุงดินและการสนับสนุนอินทรียวัตถุจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน สนับสนุนการ
                       พัฒนาการตลาดในพื้นที่ให้เหมาะสมทําให้ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทํางานที่อื่นจะลดลง

                           3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3  และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืช

                       อื่นทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นทดแทน ให้มีการช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืช
                       ชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหาร

                       จัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning  by  Agri-Map)  เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูก
                       พืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร

                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว และปาล์มน้ํามัน เป็นต้น
                       ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะยางพารา

                       เป็นพืชที่มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ํา แต่ในอนาคต
                       ถ้าราคาดีและตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกรกลับมาปลูกยางพารา
                       ในพื้นที่ดังกล่าว


                        4.4  อ้อยโรงงาน
                           1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่

                       มีเนื้อที่ 1,361 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอําเภอกระสัง อําเภอแคนดง และอําเภอนางรอง ตามลําดับ
                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่ง

                       ผลิตอ้อยโรงงานคุณภาพดีที่สําคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์อ้อยโรงงานคุณภาพดี
                       และต้านทานโรค โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาต่อยอดครบวงจร
                       การตลาดในและต่างประเทศพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรเพื่อลดปัญหาแรงงาน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53