Page 46 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               39







                                  ขมิ้นชันเป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการ
                       ระบายน้ําดี ไม่ชอบน้ําขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
                       และมีรายได้ระหว่างรอการเติบโตของยางพารา โดยพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ศักยภาพในการปลูก
                       ขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1)  ประมาณ 200,970  ไร่ กระจายอยู่ในอําเภอลําปลายมาศ

                       อําเภอคูเมือง และอําเภอเมืองบุรีรัมย์

                                  บัวบกขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด และใช้ลําต้นหรือที่เรียกว่าไหล บัวบกสามารถขึ้นได้ดีทั้ง
                       ในที่ร่ม และที่โล่งแจ้ง แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นในดิน
                       พอเหมาะ ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ดูแลง่าย สามารถปลูกแซม
                       ระหว่างแปลงพืชหลักได้ โดยพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกบัวบกที่ระดับความ

                       เหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 12,930 ไร่ อยู่ในอําเภอกระสัง และอําเภอสตึก

                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                        4.1  ข้าว
                              1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 135,216 ไร่

                       อยู่ในเขตอําเภอกระสัง อําเภอคูเมือง อําเภอแคนดง อําเภอนางรอง อําเภอนาโพธิ์ อําเภอโนนดินแดง
                       อําเภอบ้านกรวด อําเภอปะคํา อําเภอเมืองบุรีรัมย์ อําเภอละหานทราย อําเภอลําปลายมาศ อําเภอสตึก

                       และอําเภอห้วยราช และกระจายตัวในพื้นที่เล็ก ๆ ในอําเภอเฉลิมพระเกียรติ อําเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
                       อําเภอประโคนชัย และอําเภอพลับพลาชัย  ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการ

                       เสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สําคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ํา
                       ชลประทาน การจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์ข้าว โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจร
                       การตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทํามาตรฐานสินค้าเกษตร

                       อินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และเนื่องจากเป็น
                       พื้นที่ศักยภาพสูง ควรส่งเสริมการปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นการ

                       ปรับปรุงบํารุงดิน
                           2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่

                       1,707,493 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอเมืองบุรีรัมย์ อําเภอประโคนชัย อําเภอลําปลายมาศ อําเภอ
                       กระสัง อําเภอนางรอง อําเภอพลับพลาชัย และกระจายตัวทุกอําเภอ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจํากัดไม่

                       มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ําในบางช่วงของการเพาะปลูกควร
                       เพิ่มการสนับสนุนด้านการชลประทาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ทําให้ปัญหา
                       การทิ้งถิ่นฐานไปทํางานที่อื่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสําหรับการเกษตรแบบ

                       ผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
                               3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3  และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน

                       ปลูกข้าวอยู่ มีประมาณล้านกว่าไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ําท่วมซ้ําซาก ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา กระทรวง
                       เกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทํากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51