Page 44 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               37







                          4) แนวทางการจัดการ
                            (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1      หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้

                       ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนําไปสู่การต่อยอดโครงการ
                       ที่สําคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยํา เป็นต้น

                             พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพารา
                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจํากัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพาราซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพารา
                       ที่สําคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอําเภอกระสัง 8,497 ไร่ อําเภอสตึก 2,415 ไร่ และอําเภอ
                       นาโพธิ์ 693 ไร่ เป็นต้น

                             พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกยางพาราใน
                       ที่ดินที่มีข้อจํากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็น
                       กรดเป็นด่าง และแหล่งน้ํา โดยกระจายอยู่ในอําเภอบ้านกรวด 253,512 ไร่ อําเภอละหานทราย 233,166 ไร่
                       และอําเภอสตึก 217,609 ไร่ เป็นต้น

                           (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3  หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารา
                       มีต้นทุนที่ต่ํา และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  ทุเรียนน้ําแร่ธรรมชาติดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ เป็นพืช GI  ของจังหวัด โดยเป็นทุเรียนที่ปลูก

                       ในอําเภอโนนสุวรรณซึ่งมีเอกลักษณ์พิเศษ กลิ่นไม่แรง หอมหวานละมุน เนื้อนุ่ม ปลูกในพื้นที่ที่มี
                       อัตลักษณ์ทางด้านธรณีวิทยา ซึ่งมีน้ําแร่ที่มาจากน้ําใต้ดินในดินภูเขาไฟ ดินที่ใช้ปลูกเป็นดินแดงเข้ม
                       ที่ได้จากการประทุของภูเขาไฟของจังหวัดบุรีรัมย์ ทุเรียนจึงมีการเจริญเติบโตดี เนื้อนุ่ม รสชาติหวานมัน

                       เป็นเอกลักษณ์เป็นที่ต้องการของตลาดสูง โดยเมื่อพิจารณาจากข้อมูลพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน
                       หรือ ชั้นความเหมาะสมสําหรับที่ดิน ในระบบ Agri-Map  Online  สําหรับการปลูกทุเรียนพบว่ามี
                       ความเหมาะสมเล็กน้อย 15,565  ไร่ พบในอําเภอโนนดินแดง (7,403  ไร่) อําเภอบ้านกรวด (5,052  ไร่)
                       อําเภอปะคํา (1,895 ไร่) และอําเภอละหานทราย (1,215 ไร่)

                         3.2  เสาวรส เป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย ปลูกมากที่อําเภอโนนดินแดง สามารถปลูกเป็นการค้าได้

                       โดยอาศัยน้ําฝน แต่ถ้าสามารถเลือกพื้นที่ปลูกที่สามารถให้น้ําได้จะทําให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้นและการ
                       ให้ผลผลิตยาวนานตลอดปี เสาวรสนั้นสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งพื้นที่สูงจาก
                       ระดับน้ําทะเลประมาณ 1,000  เมตร แต่พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดจัด ไม่ควรมีน้ําขังและลาดชันมาก
                       เกินไปเพราะจะทําให้ทําค้างยาก ในเขตที่มีฝนตกชุกเสาวรสอาจจะติดผลไม่ดีนัก เสาวรสปลูกได้ดีใน

                       ดินหลายชนิด ดินที่เป็นกรดก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะออกดอกติด
                       ผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 4-5 เดือน หลังปลูกลงแปลง แต่ถ้าเป็นต้นที่เสียบยอดหรือปักชําจะสามารถ
                       ออกดอกติดผลได้เร็วขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 50-70  วันหลังติดผล ปัจจุบันมีการขายทั้ง
                       ผลผลิตสดบริเวณเส้นทางคมนาคม และแปรรูปเป็นน้ําเสาวรสบรรจุใส่ขวดขายในช่วงหลังฤดูทํานา

                       ได้รับความนิยมและเป็นรายได้เสริมที่ดี
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49