Page 47 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบุรีรัมย์
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               40







                       สนับสนุนแหล่งน้ํา ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
                       หรือใช้พื้นที่เพื่อผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือน
                              4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้

                       พื้นที่ปลูกข้าว โดยหันมาปลูกมันสําปะหลังและยางพาราแทน แต่ในอนาคตเกษตรกรสามารถกลับมา
                       ปลูกข้าวหรือทําการเกษตรแบบผสมผสานได้เหมือนเดิม

                        4.2  มันสําปะหลัง

                           1) พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสําปะหลังอยู่
                       มีเนื้อที่ 16,535 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอําเภอลําปลายมาศ อําเภอคูเมือง อําเภอเมืองนางรอง และ

                       อําเภอเมืองบุรีรัมย์ ตามลําดับ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอ
                       แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตมันสําปะหลังคุณภาพดีที่สําคัญของจังหวัด ควรมีการ

                       จัดการดินและปุ๋ย ท่อนพันธุ์คุณภาพดี โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่เพื่อเน้นการลดต้นทุนการ
                       ผลิตและส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart     Farmer พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและ

                       ต่างประเทศ ส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทํามาตรฐานสินค้า
                       เกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) เนื่องจากเป็น
                       พื้นที่ศักยภาพสูง

                           2) พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมันสําปะหลัง
                       อยู่ มีเนื้อที่ 343,706 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอําเภอนางรอง อําเภอปะคํา และอําเภอละหานทราย

                       เกษตรกรยังคงปลูกมันสําปะหลังได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดินหรือดินดาน การ
                       สนับสนุนอินทรียวัตถุหรือการไถระเบิดดาน ส่งเสริมการปรับปรุงบํารุงดินและการตรวจวิเคราะห์ดิน

                       อยู่เสมอจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทํางานที่อื่นจะลดลง
                           3) พื้นที่ปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสําปะหลังอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ําซาก เช่น น้ําท่วม ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทํากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดินสนับสนุนแหล่งน้ํา ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม

                       ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และใช้พื้นที่เพื่อผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือน รวมถึงการสนับสนุนข้อมูลด้าน
                       การตลาดของพืชชนิดใหม่

                              4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกมันสําปะหลัง แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทนเช่น ข้าว และยางพารา เป็นต้น ภาครัฐ

                       ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการปรับปรุงบํารุงดินไม่ให้เสื่อมโทรมและสร้างแรงจูงใจให้กลับมาปลูก
                       มันสําปะหลังเหมือนเดิม เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม ทําให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ําและผลผลิตมี

                       คุณภาพดี ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52